หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

 

ชื่อปริญญา: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมซอฟต์แวร์) / วท.ม. (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)

รหัสหลักสูตร: –

ระยะเวลาการศึกษา: 2 ปี

ปีที่ออกหลักสูตร: พ.ศ.2556 (หลักสูตรปรับปรุง)

ปีที่เริ่มใช้หลักสูตร: พ.ศ.2557

 

เนื้อหาการสอน

ปัจจุบันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามีศักยภาพในการช่วยพัฒนาองค์กรและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว การพัฒนาบุคลากรที่สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างเป็นระบบ เป็นหัวใจสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมนี้ อีกทั้งแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 ระบุว่าประเทศไทยจะมีผู้มีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีเป็นจำนวนมาก แต่กลุ่มอาชีพที่เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) มีจำนวนเพียง 1.31 เปอร์เซ็นต์ของบุคลากรด้าน ICT ดังนั้นบุคลากรด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ต้องได้รับการพัฒนาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้สามารถแข่งขันได้กับนานาประเทศ

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เล็งเห็นในความสำคัญดังกล่าว และเห็นว่าหลักสูตรด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่เน้นด้านกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์อย่างเป็นระบบในอุตสาหกรรม จะช่วยสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพไว้รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ได้ ในฐานะที่ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ริเริ่มและรับผิดชอบหลักสูตรสำคัญๆ ทางด้านคอมพิวเตอร์ของประเทศไทยตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา และมีบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ภาควิชาฯ จึงได้ดำเนินการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เพื่อรองรับความต้องการนี้ของประเทศ อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศชาติได้อีกด้วย รวมทั้งสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนในการพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เปิดรับสมัครนิสิตเข้าเรียน ทั้งในภาคปกติ (เรียนวันจันทร์ – วันศุกร์) และภาคนอกเวลาราชการ (เรียนเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์) โดยรายวิชาที่เปิดสอนจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งระบบ การทำวิจัย สัมมนา ทฤษฎีพื้นฐาน และวิชาเฉพาะทั้งทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์  อนึ่ง การเรียนการสอน จะใช้ภาษาไทยเป็นหลัก

 

สำหรับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร มีดังนี้

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ที่สามารถพัฒนาซอฟต์แวร์และบริหารจัดการโครงการซอฟต์แวร์ได้อย่างมีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถสร้างงานวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. วิศวกรซอฟต์แวร์
  2. นักวิเคราะห์และออกแบบซอฟต์แวร์
  3. นักพัฒนาซอฟต์แวร์
  4. นักทดสอบซอฟต์แวร์
  5. นักดูแลและบำรุงรักษาซอฟต์แวร์
  6. ผู้จัดการโครงการซอฟต์แวร์
  7. นักวิชาการวิศวกรรมซอฟต์แวร์
  8. นักวิจัยด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์

 

การเข้าศึกษา

หลักสูตรจะแบ่งออกเป็น 2 แผนการเรียน คือ

  1. แผนการเรียน ก(2)
    เป็นแผนการศึกษาที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ และต้องศึกษาวิชาเลือกเพิ่มเติม โดยเปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในสาขาใดสาขาหนึ่ง คือ วิศวกรรมศาสตร์ สถิติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่า
  2. แผนการเรียน ข
    เป็นแผนการศึกษาที่ ไม่ต้อง ทำวิทยานิพนธ์ แต่ต้องทำโครงงานมหาบัณฑิต และมีการสอบประมวลความรู้ โดยเปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในสาขาใดสาขาหนึ่งต่อไปนี้

    • วิศวกรรมศาสตร์
    • สถิติ
    • วิทยาศาสตร์
    • ครุศาสตร์อุตสาหกรรม ในสาขาดังต่อไปนี้
      • สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
      • คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
      • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือ
      • อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
    • บริหารธุรกิจ ในสาขาดังต่อไปนี้
      • สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
      • เทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ
      • สารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ หรือ
      • ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ – การพัฒนาซอฟต์แวร์
    • หรือสำเร็จระดับปริญญาตรีนอกเหนือจากที่กำหนด แต่ต้องมีประสบการณ์ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคอมพิวเตอร์ มาแล้วอย่างน้อย 1 ปีหลักสูตรนี้ เปิดรับสมัครนิสิตเข้าศึกษา ทั้งภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลาย

สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษา ไม่ว่าจะเป็นภาคปกติ หรือภาคนอกเวลาราชการ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

แผน ก.

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือสถิติศาสตรบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต หรือเทียบเท่า หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้
  2. มีคุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้
  3. ได้คะแนนการทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 38 คะแนน หรือ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 425 คะแนน หรือ IELTS ไม่ต่ำกว่า 5 คะแนน (ผลสอบมีอายุไม่เกิน 2 ปี)

แผน ข.

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือสถิติศาสตรบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต หรือครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์, อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์) หรือบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ, เทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ, สารสนเทศทางคอมพิวเตอร์, ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์-การพัฒนาซอฟต์แวร์) หรือเทียบเท่า หรือสำเร็จระดับปริญญาตรีนอกเหนือจากที่กำหนดแต่มีประสบการณ์ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคอมพิวเตอร์มาแล้วอย่างน้อย 1 ปีหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้
  1. มีคุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้
  2. ได้คะแนนการทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 38 คะแนน หรือ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 425 คะแนน หรือ IELTS ไม่ต่ำกว่า 5 คะแนน (ผลสอบมีอายุไม่เกิน 2 ปี)

 

****(หมายเหตุคะแนนภาษาอังกฤษ ควรดูประกาศแนบท้ายสมัครอีกครั้ง โดยจะยึดกับเวบการรับสมัคร)/ คะแนนเมื่อสำเร็จการศึกษาจะต้องได้คะแนน CU-TEP ตั้งแต่ 45  คะแนนขึ้นไป หรือผ่านการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม

**สำหรับผู้ที่ศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย จะต้องแสดงหลักฐานสำเร็จการศึกษาในวันลงทะเบียนแรกเข้า ซึ่งการรับเข้าศึกษาจะมีผลเมื่อผู้สมัครสำเร็จการศึกษาแล้ว**

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมในการเข้าศึกษาต่อ และการสมัครเข้าเรียน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย www.grad.chula.ac.th

อนึ่ง สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาทั้งสองแผนการเรียน ไม่ว่าจะเป็นภาคปกติ หรือภาคนอกเวลาราชการ จะต้องมีคุณสมบัติตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นปีๆไป  หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้

 

ค่าเล่าเรียน

เป็นไปตามประกาศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถตรวจสอบได้โดย คลิกที่นี่

อนึ่ง สำหรับนิสิต ที่เข้าศึกษาภาคนอกเวลาราชการ ต้องชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ภาควิชา (นอกเหนือจากค่าเล่าเรียน) ในอัตรา 25,000 บาท/ภาคการศึกษา ด้วย โดยชำระเงินที่ภาควิชา

 

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรนี้ มีจำนวนหน่วยกิตรวมทั้งหมด 36 หน่วยกิต ทั้งแผนการเรียน ก(2) และ ข ทั้งนี้ โครงสร้างหลักสูตรของแต่ละแผนการเรียน มีดังนี้

แผนการเรียน ก(2)

  1. วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต จำนวน 2 วิชา
  2. วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
  3. วิชาบังคับเลือก 12 หน่วยกิต
  4. วิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

แผนการเรียน ข

  1. วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต จำนวน 2 วิชา
  2. วิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
  3. วิชาบังคับเลือก 12 หน่วยกิต
  4. วิชาโครงงานมหาบัณฑิต 6 หน่วยกิต
  5. วิชาการสอบประมวลความรู้

 

รายละเอียดวิชาเรียนในหลักสูตร

วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต

  1. 2110606 วิธีวิจัยทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Research Methods in Computer Engineering) 3(3-0-9)
  2. 2110701 สัมมนาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1 (Seminar in Computer Engineering I) 1(0-1-3)

 

วิชาบังคับ

ทั้งสองแผนการเรียนต้องเรียนวิชาดังต่อไปนี้

  1. 2110623 วิศวกรรมความต้องการซอฟต์แวร์ Software Requirements Engineering 3(3-0-9)
  2. 2110634 การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ Software Design and Development 3(3-0-9)
  3. 2110721 การวัดซอฟต์แวร์ Software Metrics 3(3-0-9)
  4. 2110724 การทดสอบและการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ Software Testing and Quality Assurance 3(3-0-9)

 

เฉพาะแผนการเรียน ข เรียนเพิ่มอีก 2 วิชาดังต่อไปนี้ (สำหรับแผน ก(2) สามารถเรียนวิชาต่อไปนี้เป็นวิชาบังคับเลือกได้)

  1. 2110722 การจัดการโครงการทางซอฟต์แวร์ Software Project Management 3(3-0-9)
  2. 2110725 กระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์และการปรับปรุง Software Engineering Process and Improvement 3(3-0-9)

 

วิชาวิทยานิพนธ์ (สำหรับแผนการเรียน ก(2))

  • 2110811 Thesis 12 หน่วยกิต

 

วิชาโครงงานมหาบัณฑิต (สำหรับแผนการเรียน ข)

  • 2110797 โครงงานเตรียมมหาบัณฑิตทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ Pre-Master Project in Software Engineering 3 หน่วยกิต
  • 2110798 โครงงานมหาบัณฑิตทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ Master Project in Software Engineering 3 หน่วยกิต

 

วิชาการสอบประมวลความรู้ (สำหรับแผนการเรียน ข)

  • 2110896 การสอบประมวลความรู้ Comprehensive Examination

วิชานี้ ประมวลผลเป็น S หรือ U สามารถลงทะเบียนรายวิชานี้ได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ได้ลงทะเบียนครบถ้วนตามหลักสูตรเป็นต้นไป

 

วิชาบังคับเลือก

เลือกเรียน 4 วิชา ทั้งนี้ รายวิชา จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และกลุ่มวิชาทั่วไป นิสิต ต้องเลือกเรียนในกลุ่มวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์อย่างน้อย 6 หน่วยกิต

 

กลุ่มวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

 

  • 2110502 Formal Verification 3(3-0-9)
  • 2110521 Software Architectures 3(3-0-9)
  • 2110523 Enterprise Application Architecture 3(3-0-9)
  • 2110644 Formal Software Specification 3(3-0-9)
  • 2110645 Software Engineering Methodology 3(3-0-9)
  • 2110646 User Interface Design 3(3-0-9)
  • 2110722 Software Project Management 3(3-0-9) (สำหรับแผนการเรียน ก(2))
  • 2110723 Advanced Software Engineering Development 3(3-0-9)
  • 2110725 Software Engineering Process and Improvement 3(3-0-9) (สำหรับแผนการเรียน ก(2))
  • 2110726 Software Configuration Management 3(3-0-9)
  • 2110727 Software Evolution and Maintenance 3(3-0-9)
  • 2110728 Special Topics in Software Engineering I 3(3-0-9)
  • 2110729 Special Topics in Software Engineering II 3(3-0-9)
  • 2110730 Software Quality and Process Management 3(3-0-9)
  • 2110791 Advanced Topics in Software Engineering 3(3-0-9)

กลุ่มวิชาทั่วไป

สามารถเลือกเรียนรายวิชาอื่น ๆ ที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และในระดับบัณฑิตศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

 

แผนการเรียนตามหลักสูตร

แผน ก(2)

รหัสรายวิชา ชื่อวิชา จำนวนหน่วยกิต รหัสรายวิชา ชื่อวิชา จำนวนหน่วยกิต
ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
2110623
S/W REQS ENG
3
2110634
SOFTWARE DES&DEV
3
วิศวกรรมความต้องการซอฟต์แวร์ การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์
2110701
SEMINAR COMP ENG I
2110721
SOFTWARE METRICS
3
สัมมนาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1 การวัดซอฟต์แวร์
2110724
S/W TEST QUAL ASSU
3
Electives
3
การทดสอบและการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ วิชาบังคับเลือก
Electives
3
วิชาบังคับเลือก
รวม
9
รวม
9
ภาคการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 4
2110606
RES METH COMP ENG
2110811
THESIS
9
วิธีวิจัยทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยานิพนธ์
2110811
THESIS
3
วิทยานิพนธ์
Electives
6
วิชาบังคับเลือก
รวม
9
รวม
9

แผน ข

รหัสรายวิชา ชื่อวิชา จำนวนหน่วยกิต รหัสรายวิชา ชื่อวิชา จำนวนหน่วยกิต
ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
2110623
S/W REQS ENG
3
2110634
SOFTWARE DES&DEV
3
วิศวกรรมความต้องการซอฟต์แวร์ การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์
2110701
SEMINAR COMP ENG I
2110721
SOFTWARE METRICS
3
สัมมนาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1 การวัดซอฟต์แวร์
2110722
S/W PROJ MGT
3
2110725
S/W ENG PROC IMPR
3
การจัดการโครงการทางซอฟต์แวร์ กระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์และการปรับปรุง
2110724
S/W TEST QUAL ASSU
3
การทดสอบและการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์
รวม
9
รวม
9
ภาคการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 4
2110606
RES METH COMP ENG
2110798
M PROJ S/W ENG
3
วิธีวิจัยทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โครงงานมหาบัณฑิตทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์
2110797
PRE-M PROJ S/W ENG
3
2110896
COMPREHENSIVE EXAM
โครงงานเตรียมมหาบัณฑิตทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ การสอบประมวลความรู้
Electives
6
Electives
6
วิชาบังคับเลือก วิชาบังคับเลือก
รวม
9
รวม
9
รวมจำนวนหน่วยกิตทั้งหมดตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต (ทุกแผนการเรียน)