หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ชื่อปริญญา: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) / วศ.บ. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
รหัสหลักสูตร: 121100
ระยะเวลาการศึกษา: 4 ปี
ปีที่ออกหลักสูตร: พ.ศ.2553
ปีที่เริ่มใช้หลักสูตร: พ.ศ.2554
เนื้อหาการสอน
ให้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ตลอดจนหลักการทางวิศวกรรม กล่าวคือ การวิเคราะห์ การออกแบบ การจัดระบบ และการสร้าง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ อันประกอบด้วย ระบบฮาร์ดแวร์, ระบบซอฟต์แวร์, เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ
ทั้งนี้ เนื้อหาวิชาเรียนทั้งหมด สามารถแบ่งได้เป็น 3 หมวด คือ
- หมวดวิศวกรรมระบบเชิงเลข (Digital System Engineering)
ครอบคลุมการออกแบบและวิเคราะห์ระบบเชิงเลข (ระบบดิจิทัล) อันเป็นพื้นฐานของการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ วิชาที่ศึกษาได้แก่ การออกแบบเชิงตรรกะ ไมโครโพรเซสเซอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ภาษาแอสเซมบลี การออกแบบวงจรรวม สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูล และ ระบบเครือข่าย อาจกล่าวได้ว่า เป็นกลุ่มวิชา Hardware และ Network - หมวดวิศวกรรมซอฟต์แวร์ระบบ (System Software Engineering)
ครอบคลุมหลักการออกแบบและวิเคราะห์ทฤษฎีคำนวณทางคอมพิวเตอร์ อัลกอริทึม ซอฟต์แวร์ระบบ ภาษาโปรแกรม และ ระบบปฎิบัติการ นิสิตจะสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ทุกระดับการเชื่อมต่อ อาจกล่าวได้ว่า เป็นกลุ่มวิชา Software และหลักการทางคอมพิวเตอร์ - หมวดการประมวลผลสารสนเทศ (Information Processing)
ครอบคลุมการออกแบบและวิเคราะห์ระบบประมวลผลสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ ระบบจัดการฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์กราฟฟิก วิทยาการหุ่นยนต์ สื่อประสม การสร้างแบบจำลอง และระบบประยุกต์ ที่เกี่ยวข้อง อาจกล่าวได้ว่า เป็นกลุ่มวิชา ระบบสารสนเทศ และแขนงวิชาอื่นในสายวิทยาการคอมพิวเตอร์
อนาคตหลังสำเร็จการศึกษา
ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ จะมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ วิเคราะห์ และสร้างโปรแกรมประยุกต์ของระบบซอฟต์แวร์ ระบบเชิงเลข และ การประมวลผลสารสนเทศ และสามารถประยุกต์หลักการทางวิศวกรรมเพื่อการแก้ปัญหาในสาขาอาชีพอื่นด้วยคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพเป็นวิศวกรระบบ นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรมระบบ และอาชีพในสายงานคอมพิวเตอร์อื่นๆ
การเข้าศึกษา
การรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มี 3 วิธี คือ
- การรับตรงแบบพิเศษ
- การรับตรงแบบปกติ
- การรับด้วยระบบกลาง (Admissions)
ทั้งนี้ นักเรียนที่สมัครเข้าศึกษาต่อด้วยวิธีการรับตรงแบบพิเศษและแบบปกติ อาจเข้าเป็นนิสิตในภาควิชาได้โดยตรง หรือเข้าเป็นนิสิตโดยยังไม่สังกัดภาควิชาในชั้นปีที่ 1 แล้วจึงเลือกเข้าศึกษาต่อในภาควิชา เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 2 ต่อไป ส่วนนักเรียนที่สมัครเข้าศึกษาต่อด้วยระบบกลาง (Admissions) จะเข้าเป็นนิสิตของภาควิชาได้ด้วยการเลือกสาขาวิชาเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 2
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมในการเข้าศึกษาต่อ สามารถติดตามได้ที่ www.admissions.chula.ac.th
ค่าเล่าเรียน
เป็นไปตามประกาศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถตรวจสอบได้โดย คลิกที่นี่
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรนี้ มีจำนวนหน่วยกิตรวมทั้งหมด 142 หน่วยกิต แบ่งได้ดังนี้
- หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 3 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาสหศาสตร์ 3 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 3 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ 12 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มพิเศษ 6 หน่วยกิต
- หมวดวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 21 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเฉพาะ 85 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม 17 หน่วยกิต
- รายวิชาบังคับ 50 หน่วยกิต
- รายวิชาเลือก 18 หน่วยกิต
- หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
แผนการเรียนตามหลักสูตร
ชั้นปีที่ 1 (เรียนร่วมกันทุกสาขาวิชา) |
||||||
รหัสรายวิชา | ชื่อวิชา | จำนวนหน่วยกิต | รหัสรายวิชา | ชื่อวิชา | จำนวนหน่วยกิต | |
---|---|---|---|---|---|---|
ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | |||||
ENG DRAWING | EXPL ENG WORLD | |||||
การเขียนแบบวิศวกรรม | ท่องโลกวิศวกรรม | |||||
CALCULUS I | ENG MATERIALS | |||||
แคลคูลัส 1 | วัสดุวิศวกรรม | |||||
GEN CHEM | COMP PROG | |||||
เคมีทั่วไป | การทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ | |||||
GEN CHEM LAB | CALCULUS II | |||||
ปฏิบัติการเคมีทั่วไป | แคลคูลัส 2 | |||||
GEN PHYS I | GEN PHYS II | |||||
ฟิสิกส์ทั่วไป 1 | ฟิสิกส์ทั่วไป 2 | |||||
GEN PHYS LAB I | GEN PHYS LAB II | |||||
ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป 1 | ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป 2 | |||||
EXP ENG I | EXP ENG II | |||||
ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง 1 | ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง 2 | |||||
รวม
|
รวม
|
|||||
หมายเหตุ: นิสิตบางคน อาจเรียนรายวิชา EXPL ENG WORLD, ENG MATERIALS และ COMP PROG ในภาคการศึกษาที่ 1 แทนรายวิชา ENG DRAWING, GEN CHEM และ GEN CHEM LAB ขึ้นอยู่กับกลุ่มรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้นๆ | ||||||
ชั้นปีที่ 2 – 4 |
||||||
รหัสรายวิชา | ชื่อวิชา | จำนวนหน่วยกิต | รหัสรายวิชา | ชื่อวิชา | จำนวนหน่วยกิต | |
ภาคการศึกษาที่ 3 | ภาคการศึกษาที่ 4 | |||||
DISCRETE STRUC | COMP ENG MATH | |||||
โครงสร้างดิสครีต | คณิตศาสตร์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | |||||
PROG METH I | INTRO DATA STRUCT | |||||
วิธีวิทยาการทำโปรแกรม 1 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูล | |||||
COMP ENG ESS | DIG DESIGN VER | |||||
แก่นวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | การออกแบบและการทวนสอบดิจิตอล | |||||
DIG COMP LOGIC | DIG DESIGN LAB I | |||||
ตรรกศาสตร์ของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ | ปฏิบัติการออกแบบและการทวนสอบดิจิตอล 1 | |||||
COMP ELEC INTF | STAT PHYS SCIENCE | |||||
อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์และการเชื่อมต่อ | สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์กายภาพ | |||||
DIG LOGIC LAB I | COM PRES SKIL | |||||
การปฏิบัติการทางตรรกศาสตร์ของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ 1 | ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอผลงาน | |||||
GENERAL EDUCATION | GENERAL EDUCATION | |||||
วิชาศึกษาทั่วไป | วิชาศึกษาทั่วไป | |||||
รวม
|
รวม
|
|||||
ภาคการศึกษาที่ 5 | ภาคการศึกษาที่ 6 | |||||
OS SYS PROG | DIS SYS ESSEN | |||||
ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมระบบ | หลักการของระบบกระจาย | |||||
PROG LANG PRIN | SYS ANAL DESIGN | |||||
หลักการของภาษาการทำโปรแกรม | การวิเคราะห์และการออกแบบระบบ | |||||
ALGORITHM DESIGN | DB MGT SYS DESIGN | |||||
การออกแบบอัลกอริทึม | การออกแบบระบบการจัดการฐานข้อมูล | |||||
COMP SYS ARCH | COMP NETWORK I | |||||
สถาปัตยกรรมระบบคอมพิวเตอร์ | ข่ายงานคอมพิวเตอร์ 1 | |||||
HW SYN LAB I | APPROVED ELECTIVES | |||||
ปฏิบัติการสังเคราะห์ฮาร์ดแวร์ 1 | วิชาเลือก | |||||
GENERAL EDUCATION | TECH WRIT ENG | |||||
วิชาศึกษาทั่วไป | การเขียนภาษาอังกฤษเทคนิคสำหรับวิศวกรรมศาสตร์ | |||||
GENERAL EDUCATION | ||||||
วิชาศึกษาทั่วไป | ||||||
รวม
|
รวม
|
|||||
ภาคฤดูร้อน | ||||||
ENGINEERING PRACTICE | ||||||
การฝึกงานวิศวกรรม | ||||||
ภาคการศึกษาที่ 7 | ภาคการศึกษาที่ 8 | |||||
FORM LANG/AUTO | COMP ENG PROJECT | |||||
ภาษาฟอร์มอลและทฤษฎีออโตมาตา | โครงการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | |||||
SOFTWARE ENG | APPROVED ELECTIVES | |||||
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ | วิชาเลือก | |||||
COMP ENG PRE-PROJ | FREE ELECTIVES | |||||
โครงการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน | วิชาเลือกเสรี | |||||
APPROVED ELECTIVES | ||||||
วิชาเลือก | ||||||
FREE ELECTIVES | ||||||
วิชาเลือกเสรี | ||||||
รวม
|
รวม
|
|||||
รวมจำนวนหน่วยกิตทั้งหมดตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 142 หน่วยกิต |