โครงงานมหาบัณฑิต (Master Project)
นิสิตระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ แผน ข จะต้องทำโครงงานมหาบัณฑิตทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Master Project in Software Engineering) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตร ทั้งนี้ การทำโครงงานมหาบัณฑิตจะแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การเสนอโครงร่างโครงงาน (ต่อไปจะเรียกว่า โครงร่างฯ) และการทำโครงงานฉบับสมบูรณ์
2110797 โครงงานเตรียมมหาบัณฑิตทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์
ในการเสนอโครงร่างฯ นั้น นิสิตจะต้องลงทะเบียนรายวิชา 2110797 โครงงานเตรียมมหาบัณฑิตทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Pre-Master Project in Software Engineering) และจัดทำโครงร่างโครงงาน (Project Proposal) เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบโครงร่างฯ ซึ่งมาจากอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ของภาควิชา ตลอดจนตัวแทนหน่วยงานภายนอก (กรณีหน่วยงานภายนอกเป็นเจ้าของหัวข้อโครงงาน) ทั้งนี้ หากนิสิตสามารถผ่านการสอบโครงร่างฯ และได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในรายวิชาได้แล้ว นิสิตจึงจะสามารถจัดทำโครงงานฉบับสมบูรณ์ได้ต่อไป
- ประมวลรายวิชา
- แนวปฏิบัติรายวิชา
- แบบข้อเสนอโครงงาน (นำส่งผู้ประสานงานรายวิชาหลังสอบโครงร่างฯ ผ่านแล้ว)
- แบบรับรองหัวข้อ (นำส่งภาควิชา ก่อน สอบโครงร่าง กรณีที่นิสิตหาหัวข้อโครงงานมาเองโดยมีหน่วยงานภายนอกร่วมด้วย)
2110798 โครงงานมหาบัณฑิตทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์
หลังจากนั้นผ่านรายวิชา 2110797 มาแล้ว นิสิตจะต้องลงทะเบียนรายวิชา โครงงานมหาบัณฑิตทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Master Project in Software Engineering) เพื่อจัดทำโครงงานให้เสร็จสมบูรณ์ และนำเสนอผลงานพร้อมรายงานฉบับสมบูรณ์ต่อคณะกรรมการต่อไป
- ประมวลรายวิชา
- แนวปฏิบัติรายวิชา
- แบบรายงานการเผยแพร่ผลงานการค้นคว้าอิสระ (นำส่งภาควิชา เมื่อขอจบการศึกษา)
ข้อมูลโครงงานมหาบัณฑิตทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์
- หัวข้อโครงงานมหาบัณฑิตที่ผ่านมา
- ตัวอย่างโครงร่างโครงงาน โครงงานฉบับสมบูรณ์ และบทความตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน
- การออกแบบและพัฒนาระบบสมุดอัตราพัสดุประจำเรือ : โครงร่าง โครงงาน บทความตีพิมพ์
- การปรับปรุงวิธีการจัดลำดับการค้นคืนซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่: กรณีศึกษาแอนดรอยด์มาร์เก็ต: โครงร่าง โครงงาน บทความตีพิมพ์
- การพัฒนาปลั๊กอินของเบราว์เซอร์เพื่อแสดงผลข้อมูลฟรีเบสบนหน้าเว็บ: โครงร่าง โครงงาน บทความตีพิมพ์
- การวัดความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับระบบอิงบริการ: โครงร่าง โครงงาน บทความตีพิมพ์