สังเขปวิชา 2110631 ระบบปฏิบัติการ
(2110631 Operating Systems)
ภาคต้น ปีการศึกษา 2544


ปรับปรุงล่าสุด วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2544 


  1. รหัสวิชา                2110631
  2. จำนวนหน่วยกิต     3 หน่วย (เรียน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และทำงานเพิ่มสัปดาห์ละ 9 ชั่วโมง)
  3. ชื่อวิชา                  ระบบปฏิบัติการ (Operating Systems)
  4. คณะ/ภาควิชา       ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  5. ภาคการศึกษา        ต้น
  6. ปีการศึกษา            2544
  7. ชื่อผู้สอน                อ. ดร. ยรรยง เต็งอำนวย
  8. เงื่อนไขรายวิชา      ไม่มี
  9. สถานภาพของวิชา  วิชาเลือก
  10. ชื่อหลักสูตร            วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (คอมพิวเตอร์)
  11. วิชาระดับ               ปริญญาโท
  12. จำนวนชั่วโมงที่สอน/สัปดาห์        3
  13. เนื้อหารายวิชา
    1. วัตถุประสงค์ทั่วไป    เพื่อให้ทราบถึงองค์ประกอบของระบบปฏิบัติการ ความสำคัญขององค์ประกอบเหล่านั้น และหลักการในการสร้างองค์ประกอบเหล่านั้น
    2. เนื้อหารายวิชาต่อสัปดาห์

1

หลักการของ process 
โครงสร้างของ process 
วงจรชีวิตของ process

อ่าน 4.1, 4.3, ของ [1] 
อ่าน fork( ) จาก [2] เล่มไหนก็ได้

2

Process implementation 

Thread 

การสื่อสารระหว่าง process


อ่าน 4.5, 21.3.2, 21.5.1 ของ [1] 
อ่านบทที่ 4 ของ Comer [3].2 
อ่านบทที่ 3 ของ Vahalia [3].6 
(ทั้งสองบท จะแจกให้ในชั้นเรียน
อ่าน 4.6 ของ [1] อ่าน IPC จาก [2]

3

การสับหลีก process

การจัดจังหวะ process

อ่าน 4.2 และ 5 ของ [1] อ่าน 6 ของ [1]
อ่าน synchronization primitives จาก [2] 

4

Deadlock

อ่านบท 7 ของ [1]

5

การจัดการหน่วยความจำ

อ่านบท 8 ของ [1]

6

ระบบหน่วยความจำเสมือน

อ่านบท 9 ของ [1]

 

UNIX Administrator Proficiency Test

9-14 กรกฎาคม 2544

7

ระบบแฟ้ม 
โครงสร้างของระบบแฟ้ม 

อ่าน 10 ใน [1]  file system calls ใน [2] 
อ่าน 11 ของ [1] อ่าน 21.7 และ 766 จาก [1]

8

ระบบรักษาความปลอดภัยและความลับ

อ่านบท 19, 20 ของ [1]

9

นำเสนอสรุปและวิเคราะห์โอเอส

10

นำเสนอสรุปและวิเคราะห์โอเอส

11

นำเสนอสรุปและวิเคราะห์โอเอส

12

นำเสนอสรุปและวิเคราะห์โอเอส

 

ส่ง Term Report ฉบับร่าง

พฤหัสที่ 16 สิงหาคม 2544 ในชั้นเรียน

 

คืน Report ฉบับร่างพร้อมวิจารณ์

พฤหัส 30 สิงหาคม 2544 ในชั้นเรียน

 

สอบประจำภาค

พฤหัส 20 กันยายน 2544 17.30-20.30 .

 

ส่ง Term Report ฉบับสมบูรณ์

พฤหัส 20 กันยายน 2544 ก่อนการสอบประจำภาค

    1. วิธีจัดการเรียนการสอน สอนโดยการบรรยาย มีการสอบทักษะขั้นสูงด้านระบบปฏิบัติการ และการสรุปและทำวิจารณ์บทความทางวิชาการ
    2. สื่อการสอน แผ่นใส ตำรา บทความทางวิชาการ
    3. การวัดผลการเรียน

Assignment                      30 %
UNIX Admin Test              10 %
รายงาน OS                       30 %

สอบประจำภาค                   30 %
รวม                                 100 %

  1. รายชื่อหนังสืออ่านประกอบ

[1]  ตำรา
 Silbershatz and Galvin, Operating System Concepts.  5th ed., Addison Wesley, 1998.   ให้ระวังว่า ต้องเป็น Fifth Edition หรือใหม่กว่า (แต่ 4th Ed. - 1994 ยังมีเนื้อหาสาระที่ใช้ได้กว่า 80%)
[2]  หนังสืออ้างอิง
1. Stevens, UNIX System Programming.  Prentice Hall, 1994.  หรือ
2. Haviland and Salama, UNIX System Programming.  Addison-Wesley, 1987. หรือ
3. Programmer’s Reference Manual หรือ System Calls Manual ของระบบ UNIX ยี่ห้อต่าง ๆ เช่น Solaris SCO Lynux AIX HP-UX OSF/1 หรือ
4. หนังสือเกี่ยวกับ UNIX System Programming อื่นใดในลักษณะเดียวกัน เพราะต้องใช้ทำแบบฝึกหัด
[3]  หนังสือแนะนำ
1. Stevens, UNIX Network Programming.  Prentice Hall, 1990. ระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ผูกพันกับระบบเครือข่าย (TCP/IP) มาก หนังสือเล่มนี้แนะนำหลักการของเครือข่าย โดยมองจากมุมของระบบปฏิบัติการ อ่านเข้าใจง่าย มี code ให้ทดลอง
2. Douglas Comer, Operating System Design: The XINU Approach, Prentice Hall International, 1984 (หรือใหม่กว่า) เป็นหนังสือที่ดีมาก กล่าวถึง OS อย่างง่าย พร้อมคำอธิบาย source code แต่ละชิ้นอย่างเป็นระบบ เป็นหนังสือเดียวในท้องตลาดที่ทำให้เข้าใจ หลักการของ process ได้ดี
3. H.M. Deitel, Operating Systems, 2nd Ed., Addison-Wesley, 1990 (หรือใหม่กว่า)เป็นหนังสือที่แม้จะเก่าหน่อย แต่เป็น survey ของหลักการและองค์ประกอบต่าง ๆ ของ OS ที่ดีมาก คำบรรยายกระชับสั้น มีภาพประกอบ เข้าใจง่าย
4. ยรรยง เต็งอำนวย, ระบบปฏิบัติการ, ซีเอ็ดยูเคชั่น 2533 สำหรับผู้ที่อ่านภาษาอังกฤษแล้วคันไปทั้งตัว หนังสือเล่มนี้ดีมากตรง บทที่ 4 การจัดการหน่วยความจำหลัก และ บทที่ 6 ระบบแฟ้ม
5. ยรรยง เต็งอำนวย, เรียนรู้ยูนิกซ์เบื้องต้น, ซีเอ็ดยูเคชั่น 2536 สำหรับผู้ทีอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก หากอ่านออกให้หาหนังสือเกี่ยวกับ UNIX เบื้องต้นมาใช้แทน เพราะต้องสอบทักษะการใช้ UNIX ในวิชานี้
6.  Uresh Vahalia, UNIX Internals: The New Frontiers. Prentice Hall, 1996.
[4]  เอกสารอ้างอิง

1.  Teng-amnuay and Nupairoj, MIMUT v. 0.0a & 0.0i.  Senior Project, Dept. of Computer Engineering, Chulalongkorn University, 1989.
[5]  บทความทางวิชาการ ดูจาก รายชื่อบทความ

  1. ข้อกำหนดทั่วไป
    1. ให้นิสิต จัดหา account บนเครื่อง UNIX แนะนำให้ติดต่อของศูนย์คอมพิวเตอร์คณะฯ หรือของสำนักไอที และหัดใช้ จดหมายอีเล็กทรอนิกส์ (จมอ. หรือ electronic mail) เพื่อรับ-ส่ง ข่าวสาร และงาน กับอาจารย์
    2. ฝึกใช้เครื่อง UNIX อื่น โดยอาจใช้ Linux ก็ได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการสอบทักษะด้าน system administration และการนำเสนอโครงงานด้วย เพราะถ้าใช้ server ที่ทำงาน จะยกมาสอบไม่ได้
    3. ถามข้อสงสัยได้ที่ อาจารย์ยรรยง ห้อง 19-13 ชั้น 19 ตึก 4 คณะวิศวฯ โทรศัพท์ 218-6998 หรือ email/Internet ที่ Yunyong.T@Chula.ac.th
    4. ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิชานี้ สามารถดูได้จาก home page ของอาจารย์ ที่ http://www.cp.eng.chula.ac.th/faculty/ytn/home.htm
    5. การบ้าน ส่งในชั้นเรียนในสัปดาห์ถัดไป จะตรวจและส่งคืนในชั้นเรียนสัปดาห์ถัดไปเช่นกัน

 

  1. ทักษะ UNIX System Administration
    1. กำหนดวันเวลาสอบโดยละเอียดจะแจ้งให้ทราบในภายหลัง
    2. แสดงทักษะ เป็นรายบุคคล ที่หน้าจอของ UNIX Workstation ให้เวลา 10 นาที เตรียมบท (script) มาให้คล่อง
    3. ทักษะที่แสดง ต้องแสดงความรู้ความเข้าใจให้ครอบคลุม หัวข้อ 25 หัวข้อ ตามที่กำหนด
    4. การแสดงทักษะ ให้อธิบายประกอบโดยย่อด้วย
    5. การวัดผล ให้คะแนนข้อละ 2 คะแนน รวม 50 คะแนน

 

  1.  รายงานประจำภาค
    1. เป็นการศึกษา สรุป และวิจารณ์ operating system (โอเอส) หนึ่งกลุ่มอุตสาหกรรม (หรือประเภท) ในแง่มุมดังตัวอย่างนี้
      • ตลาด
      • ประวัติความเป็นมา
      • สถานภาพปัจจุบัน
      • องค์ประกอบ
      • จุดเด่นจุดด้อย
      • บริษัท องค์กร ที่ ผลิต สนับสนุน และใช้งาน
      • มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
      • แนวโน้มของเทคโนโลยีและตลาด
      • บทวิเคราะห์
      • รายการอ้างอิง เอกสาร เว็ปไซต์
    2. จัดกลุ่มศึกษา กลุ่มละไม่เกิน 3 คน
    3. ให้เลือกกลุ่มอุตสาหกรรมหนึ่งกลุ่ม จาก รายชื่ออุตสาหกรรม ที่กำหนดให้ โดยไม่ซ้ำกับกลุ่มอื่น เมื่อเลือกได้แล้ว ให้ส่งอีเมล์จองมาที่ อาจารย์ การเปลี่ยนอุตสาหกรรม ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้สอนก่อน
    4. รายงานต้องเป็นภาษาไทย ใช้คำศัพท์ทับศัพท์ หรือเป็นภาษาอังกฤษ ตามความเหมาะสม
    5. ความยาวของรายงาน ไม่ควรเกิน 20 (ยี่สิบ) หน้า หน้าแรกประกอบด้วย

 

สังเขป วิเคราะห์ วิจารณ์

Operating System

กลุ่มอุตสาหกรรม

 

My OS

โดย

กลุ่ม ชื่อกลุ่ม

สมาชิก

ดช. ดุ๊กดิ๊ก ดักแด้ C254678926

ดญ. บัวบาน บันเทิง C313213213

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 2110631 Operating Systems
สอนโดย อ.ดร.ยรรยง เต็งอำนวย
Yunyong.T@Chula.ac.th    http://www.cp.eng.chula.ac.th/faculty/ytn
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์    คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    http://www.chula.ac.th

กันยายน 2544

 

    1. รายงานใช้ font Cordia New 16 พิมพ์หน้าเดียว กระดาษ A4
    2. E-version ของรายงานอยู่ในรูป pdf file
    3. รายงานฉบับร่าง ไม่ต้องเย็บเล่ม
    4. รายงานฉบับสมบูรณ์ ส่งเป็น hard copy เข้าเล่มด้วยการเย็บและติดเทปที่สัน พร้อมสำเนาส่งทาง อีเมล์ หรือดิสเก็ต
    5. ทำเอกสารด้วย power point เพื่อบรรยายในชั้นเรียน ประมาณยี่สิบหน้าสำหรับการสรุป และหนึ่งหน้าสำหรับบทวิเคราะห์
    6. บรรยายสรุปและวิเคราะห์ด้วย power point ในชั้นเรียน กำหนดกลุ่มละ 30 นาที หลังการบรรยายเป็นวิจารณ์และข้อสังเกตจากชั้นเรียน 10 นาที
    7. ส่งสรุปและวิเคราะห์ที่เป็นแฟ้ม power point ทาง email ให้อาจารย์ผู้สอน
    8. การให้คะแนน
      • เนื้อหาของรายงาน                        5        คะแนน
      • ความครอบคลุมในอุตสาหกรรม        10      คะแนน
      • บทวิจารณ์                                   5        คะแนน
      • รูปแบบรายงาน                             5        คะแนน
      • สไลด์การนำเสนอในชั้นเรียน           5        คะแนน
      • รูปแบบการนำเสนอในชั้นเรียน          5        คะแนน
      • วินัย ความตรงต่อเวลา อื่น ๆ            5        คะแนน

รวม                                      40      คะแนน


ปรับปรุงล่าสุด วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2544 โดย .ดร.ยรรยง เต็งอำนวย