Introduction to Bioinformatic 2020: 

Future of Computing

Artificial Intelligence  (pptx )  video link   https://youtu.be/Twiw_ZtSn5s

Machine Learning  (pptx ) video link https://youtu.be/DIzd7VPbpH8

Quantum computing  (pptx )  video link   https://youtu.be/lYniD03VpBE

Pictures of Neutral Atom experiment at Physics Chiengmai U.  and story of Quantum supremacy

Assignment

Pick a topic between AI,  and Quantum computing.  Make a question about that topic and write 4-5 pages report to investigate that question.  Email your report to me by Monday 16 Nov.

Comments to all your report (so that you can learn from each other)

Phasuwit
ระบบ การแพทย์อัจฉริยะ ที่มีระบบภาพ การติดตามผู้ป่วยและโทรเวช ที่บรรยายมาก็น่าสนใจ ผมเชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์ของจะมีส่วนช่วยในเรื่องเหล่านี้ได้มาก  จริงๆแล้วโปรแกรมอย่างนี้ก็เหมือนกับคิดให้เหมือนกับมนุษย์ผู้เป็น care taker นั้นเอง

Purin
คุณบรรยายเรื่องการคำนวณควอนตัม มาได้ดี
เนื่องจากมีศักยภาพว่าจะมีพลังการคำนวนสูงมาก  การประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆที่คุณกล่าวมาจึงเป็นไปได้
อุปสรรคอยู่ที่เรายังไม่รู้วิธีสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมดีนัก
มีข้อจำกัดพื้นฐานหลายอย่าง เช่น quantum state ไม่สามารถที่จะ duplicate ได้ การสำรองข้อมูลซึ่งมีสถานะเป็นควอนตัมจึงทำไม่ได้

Nitchaya
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และมีอินไซท์ออกมา ถือว่าเป็นจุดแข็งของปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบัน
ดังที่คุณได้ไปค้นคว้ามาอยู่แล้ว
จุดที่น่าสนใจคือมันก็เอาปัญญาประดิษฐ์ไปใช้วิเคราะห์อินไซท์ของความรู้สึกมวล ชนได้เหมือนกัน
อันนี้นักการเมืองคงจะสนใจ

Napat
ผมเห็นด้วยกับคุณนะ เรื่องปัญญาประดิษฐ์กับการแทนที่แรงงานมนุษย์  มีงานหลายอย่างซึ่งใช้หลักฐานจากข้อมูลจำนวนมากมาสรุปผลโดยไม่ต้องวินิจฉัย งานอย่างนี้ปัญญาประดิษฐ์ทำได้ดีกว่ามนุษย์
งานที่ต้องคำนึงถึงความรู้สึกจิตใจของคน มนุษย์ทำได้ดีกว่า
อนาคตก็คงต้องทำงานร่วมกัน และเหมือนวิศวกรปัจจุบันต้องใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคิดเลขไม่มีใครทำด้วยมือแล้ว

Noppon
คุณมองปัญญาประดิษฐ์ในมุมกว้างได้ดี.
และปัญญาประดิษฐ์ก็จะมีผลต่อสังคมไทยอย่างเห็นได้ชัดในห้าปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามก็อาจจะเหมือนคอมพิวเตอร์ในระบบการเงิน คือในที่สุดมันก็หายตัวไปเลย
ขอเสริมในเรื่อง strong AI เป็นความเชื่อที่ว่า เครื่องจักรก็คิดได้ เหมือนที่มนุษย์ คิดได้ ส่วนที่บอกว่ามันจะเก่งกว่ามนุษย์ เพราะเราพยากรณ์ไปข้างหน้า ว่าเครื่องจักรจะมีกำลังคำนวนดีขึ้นดีขึ้น ในอัตราที่เร็วกว่ามนุษย์จะพัฒนาสมองได้  จึงกลายเป็นข้อสรุปว่าเครื่องจักรอาจจะคิดได้เก่งกว่ามนุษย์ ขอสมมุติฐานนี้อาจไม่เป็นจริงก็ได้ครับ

Nontapat
คุณมีมุมมองที่ practical สำหรับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในด้านสุขภาพ
ผมสนับสนุนว่าคุณควรจะลองใช้ปัญญาประดิษฐ์ในส่วนหนึ่งของงานวิทยานิพนธ์ของคุณ นะครับ แล้วคุณจะเข้าใจขีดจำกัดของเทคโนโลยีนี้ได้ดีขึ้น

Thanawan
คุณสรุปงานเกี่ยวกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการวินิจฉัยคลื่นสัญญาณหัวใจ. งานวิจัยทำนองนี้มีจำนวนมาก อุปสรรคใหญ่ใหญ่ก็คือ สัญญาณที่เข้ามาในเครื่องวัด มักจะมีสัญญาณรบกวนเป็นจำนวนมาก เช่นมีส่วนที่ไม่ใช่สัญญาณหัวใจ เข้ามาด้วยเนื่องจากกล้ามเนื้อมัดอื่นขยับ
ปัจจุบันเครื่องวิเคราะห์เบื้องต้นว่าหัวใจเต้นผิดปกติ ก็มีขายแล้วจะมีความสามารถต่างๆกันออกไป

Thapakorn
ปัญญาประดิษฐ์ทีใช้ในด้านสุขภาพมีมาก ดังที่คุณได้กล่าวสรุปไว้
สาเหตุใหญ่ที่ปัญญาประดิษฐ์ได้ผลดีเนื่องจากมันสามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งเราเก็บไว้ในอดีตได้ดีกว่ามนุษย์
ผลกระทบที่น่าสนใจตอนนี้ น่าจะเป็นการเก็บข้อมูลทางสุขภาพจากอุปกรณ์ติดตัวทั้งหลาย เช่น smart watch และอื่นๆ เพราะเราสามารถติดตามข้อมูลเหล่านี้ได้ตลอดเวลา เช่นการเต้นหัวใจ ความดัน ในอนาคตข้างหน้าน่าจะวัดระดับความเครียดได้ด้วย ไม่เอามาใช้อย่างถูกต้องจะทำให้การป้องกันโรคก่อนเกิดเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Pisitpong
ปัญญาประดิษฐ์สามารถใช้ช่วยเหลือดูแลคนไข้ได้อย่างแน่นอน แต่จะต้องนำความรู้ ทางการแพทย์ที่มีในปัจจุบันใส่เข้าไปในระบบ ซึ่งเป็น ต้นทุนมหาศาล
การดูแลประชาชนให้รู้ตัวก่อนจะเป็นโรค เป็นความคิดที่ดีเยี่ยม

Chomchon
บทความที่คุณเรียบเรียงมา กว้างขวางครอบคลุมได้ดี
เมื่อมองปัญญาประดิษฐ์ว่าเป็น optimiser ก็สามารถนำมาใช้ในปัญหาการขนส่งได้เกือบทุกด้าน
คุณสนใจใช้ปัญญาประดิษฐ์ ผมแนะนำให้ศึกษาเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และลองนำมาใช้กับข้อมูลจริงที่คุณ มี

end of comments

contact me at:  prabhas at chula dot ac dot th

last update 24 Nov 2020