หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล
Bachelor
of Engineering Program in Computer Engineering
and
Digital Technology
ปีการศึกษา
2566
1.
สภาพปัญหาและเหตุผลความจำเป็น
ปัจจุบัน
ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาก
และมีผลกระทบต่อธุรกิจ
อุตสาหกรรม
และสังคม
อย่างรุนแรงและหลีกเลี่ยงไม่ได้
ธุรกิจต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วและนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป
ระบบเศรษฐกิจที่สามารถขับเคลื่อนไปได้ต้องมีบุคลากรทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพจำนวนมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ความสามารถทั้งด้านระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล
ซึ่งประกอบด้วย
ฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์
ข้อมูล
เครือข่าย
และด้านปัญญาประดิษฐ์
จึงจะสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้อย่างทันท่วงที
ประกอบกับสถาบันการศึกษาในประเทศไทยสามารถผลิตบุคลากรด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพได้เพียงไม่กี่พันคนต่อปี
ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศที่อยู่ในระดับหลายหมื่นคนต่อปีได้
การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
โดยคณาจารย์คุณภาพจากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์ที่สามารถขยายขนาดของห้องเรียนแบบดิจิทัลได้
และการฝึกประสบการณ์ภาคสนามให้กับนิสิตอย่างสม่ำเสมอจากภาคอุตสาหกรรม
จะช่วยสร้างบัณฑิตจำนวนมากที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางวิชาการและในการปฏิบัติงานจริงให้กับอุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็ว
และตอบสนองได้ทันต่อการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้
2
วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพในสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลจำนวนมาก
ที่สามารถปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมได้
และมีทักษะที่ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี
3.
ผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล
มีดังนี้
1.
มีความรู้กว้างและรู้ลึกในศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2.
สามารถสืบค้น
ตรวจสอบ
และนำความรู้ทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ไปออกแบบและประยุกต์ใช้ทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้
3.
สามารถเลือก
ใช้ ประยุกต์
สร้างเครื่องมือ
เทคนิค
ทรัพยากรที่ทันสมัย
ในการทำโครงการทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม
4.
สามารถทำงานด้วยตนเองและสามารถทำงานในสถานะผู้นำของทีมและสมาชิกของทีม
5.
สามารถอธิบายสื่อสารให้กับผู้อื่นเข้าใจได้
ทั้งในรูปแบบการเขียนเชิงวิชาการ
และการนำเสนอด้วยวาจา
6.
สามารถปรับตัวกับสภาวะที่เปลี่ยนไป
เรียนรู้ด้วยตนเอง
โดยเป็นผู้ใฝ่รู้
มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา
โดยผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้
ดังต่อไปนี้
1) วิศวกรคอมพิวเตอร์
2) นักพัฒนาซอฟต์แวร์
3) นักวิชาการคอมพิวเตอร์
4) นักวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
5) นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์
6) ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
7) ผู้ดูแลระบบสารสนเทศองค์กร
8) ผู้จัดการโครงการคอมพิวเตอร์
9) นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
10) นวัตกร
11) นักบริหารระบบและข้อมูล
12) นักพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์
4.
รายละเอียดหลักสูตร
–
จำนวนบัณฑิตที่จะผลิต
300 คน
–
วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6
หรือเทียบเท่า
และมีคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรื่องการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และประกาศของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
(ทปอ.)
–
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 124
หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา 3
ปีครึ่ง
โครงสร้างหลักสูตรจำนวนหน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตร 124
หน่วยกิต
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
12 หน่วยกิต |
|
||
|
กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มพิเศษ |
3 |
หน่วยกิต |
|
กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ |
9 |
หน่วยกิต |
2)
หมวดวิชาเฉพาะ
106
หน่วยกิต |
|
||
กลุ่มรายวิชาบังคับ |
|
||
|
กลุ่มวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ |
3 |
หน่วยกิต |
|
กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม |
27 |
หน่วยกิต |
|
กลุ่มวิชาแกนระดับสาขาวิชา
(บังคับ) |
55 |
หน่วยกิต |
กลุ่มรายวิชาเลือก |
|
|
|
|
กลุ่มวิชาแกนระดับสาขาวิชา
|
21 |
หน่วยกิต |
3)
หมวดวิชาเลือกเสรี
6 หน่วยกิต |
|
4.1.3 รายวิชา
2110205 สถิติสำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3(3–0–6)
2110204 โครงสร้างดิสครีต**
3(3–0–6)
|
|
4.1.3.3 หมวดวิชาเลือกเสรี 6
หน่วยกิต
นิสิตสามารถเลือกลงทะเบียนรายวิชาที่มีความสนใจและที่เปิดสอนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิสิตที่มีความประสงค์จะเรียนรายวิชาอื่นในคณะวิศวกรรมศาสตร์
นอกจากรายวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
สามารถนับหน่วยกิตการศึกษาและรับผลการประเมินเป็นเกรด
A, B+, B, C+, C, D+, D และ F ได้
ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือคณะกรรมการประจำภาควิชา
และต้องมีจำนวนหน่วยกิตรายวิชาบังคับเลือกและรายวิชาเลือกของสาขาวิชาที่นิสิตสังกัดครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
เพื่อขอสำเร็จการศึกษา
กรณีที่นิสิตไม่ได้ขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบให้ลงทะเบียนเรียนเกินจากที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
จะได้รับการเปลี่ยนสัญลักษณ์ผลการประเมินให้เป็น
S/U
โดยมติของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือคณะกรรมการประจำภาควิชา
แผนการศึกษา
*วิชาที่ให้เกรดเป็น
S/U
|
รหัสวิชา |
รายวิชา |
หน่วยกิต |
|||||
|
ปีที่ 1
ภาคการศึกษาที่
1 |
|||||||
2110104* 2110222* 2110328* 2110204* 2110252* |
การทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บทนำสู่วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี โครงสร้างดิสครีต ตรรกศาสตร์ของดิจิทัลคอมพิวเตอร์ รวม |
3 (3–0–6) 3 (3–0–6) 4 (4–0–8) 3 (3–0–6) 3 (3–0–6) 16 |
||||||
ที่
1
ภาคการศึกษาที่
2 |
||||||||
2110215 2110322 2110503 2110507 2110423 2110426* |
วิธีวิทยาการทำโปรแกรม
1 ระบบฐานข้อมูล การฝึกพัฒนาซอฟต์แวร์ การฝึกพัฒนาซอฟต์แวร์
2 วิศวกรรมซอฟต์แวร์ การปฏิบัติการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ รวม |
3 (2–3–4) 3 (3–0–6) 3 (3–0–6) 3 (3–0–6) 3 (3–0–6) 1 (0–2–1) 16 |
||||||
|
ปีที่ 1
ภาคฤดูร้อน |
|
|
|
||||
2110102* |
การฝึกงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1 |
3 |
(0-18-0) |
|
||||
|
รวม |
3 |
|
|
||||
|
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่
1 |
|
|
|
||||
2110205 2110201 2110203 5500203 |
สถิติสำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
คณิตศาสตร์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2 ภาษาอังกฤษที่จำเป็นสำหรับวิศวกร |
3 3 3 3 |
(3–0–6) (3–0–6) (3–0–6) (3–0–6) |
|
||||
2110403 |
วิทยาศาสตร์ข้อมูลและวิศวกรรมข้อมูลเบื้องต้น |
3 |
(3–0–6) |
|
||||
2110356 |
ระบบฝังตัว |
3 |
(3–0–6) |
|
||||
|
รวม |
18 |
|
|
||||
|
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่
2 |
|
|
|
||||
2110313 |
ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมระบบ |
3 |
(3–0–6) |
|
||||
2110471 |
ข่ายงานคอมพิวเตอร์
1 |
3 |
(2–3–4) |
|
||||
5500208 |
ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอผลงาน |
3 |
(3–0–6) |
|
||||
2110xxx |
วิชาเลือก |
3 |
(3–0–6) |
|
||||
2110xxx |
วิชาเลือก |
3 |
(3–0–6) |
|
||||
2110405 |
ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง |
3 |
(3–0–6) |
|
||||
|
รวม |
18 |
|
|
||||
|
ปีที่ 2
ภาคฤดูร้อน |
|
|
|
||||
2110212* |
การฝึกงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 2 |
3 |
(0-18-0) |
|
||||
|
รวม |
3 |
|
|
||||
|
ปีที่ 3
ภาคการศึกษาที่
1 |
|
|
|
||||
2110488 |
โครงงานรวบยอดวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
1 |
2 |
(0–4–2) |
|
||||
5500308 |
การเขียนภาษาอังกฤษเทคนิคสำหรับวิศวกรรมศาสตร์ |
3 |
(3–0–6) |
|
||||
2110506 |
ระบบที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ 1 |
3 |
(3–0-9) |
|
||||
2110575 |
ระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและวิธีการแก้ปัญหาทางดิจิทัล |
3 |
(3–0-9) |
|
||||
2110413 |
ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ |
3 |
(3–0–6) |
|
||||
2110xxx |
วิชาเลือก |
3 |
|
|
||||
2110xxx |
วิชาเลือก |
3 |
|
|
||||
|
รวม |
20 |
|
|
||||
|
ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่
2 |
|
|
|
||||
2110489 |
โครงงานรวบยอดวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2 |
3 |
(3–0–6) |
|
||||
2110xxx |
วิชาเลือก |
3 |
|
|
||||
2110xxx |
วิชาเลือก |
3 |
|
|
||||
2110xxx |
วิชาเลือก |
3 |
|
|
||||
xxxxxxx |
วิชาเลือกเสรี |
3 |
|
|
||||
xxxxxxx |
วิชาเลือกเสรี |
3 |
|
|
||||
|
รวม |
18 |
|
|
||||
|
|
|||||||
|
ปีที่ 3 ภาคฤดูร้อน |
|
|
|
||||
2110302* |
การฝึกงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 3 |
3 |
(0-18-0) |
|
||||
|
รวม |
3 |
|
|
||||
|
ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่
1 |
|
|
|
||||
2110402 |
สหกิจศึกษาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
|
9 |
(0-36-0) |
|
||||
|
รวม |
9 |
|
|
||||
หน่วยงานร่วมดำเนินการ
และบทบาทความรับผิดชอบ
องค์กรชั้นนำไม่ต่ำกว่า
30
องค์กร
จากสภาและสมาคมต่าง
ๆ เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย,สมาคมธนาคารไทย,
สภาอุตสาหกรรม,
สภาหอการค้าไทย,
สมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาฯ,
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ฯลฯ
และองค์กรเหล่านี้จะเข้ามาช่วยการดำเนินงานของหลักสูตรดังนี้
–
ให้โจทย์โครงงานสำหรับรายวิชา
–
ให้โจทย์โครงงานรวบยอด
(Capstone Project)
พร้อมที่ปรึกษาโครงงาน
(ร่วม)
–
ส่งตัวแทนเป็นกรรมการสอบโครงงานประจำภาคการศึกษา
–
รับนิสิตทุกชั้นปีเข้าฝึกงานหรือสหกิจศึกษาและประเมินนิสิตตามเกณฑ์การประเมินที่หลักสูตรกำหนด
–
จัดหาวิทยากรเพื่อร่วมสอนวิชาเลือกของนิสิตชั้นปีที่ 3
–
ให้ข้อเสนอแนะระหว่างการดำเนินการหลักสูตร