FAQ


1. หากต้องการดาวน์โหลดใบคำร้องต่างๆสามารถดาวน์โหลดได้จากที่ไหน
ลิงก์ดาวน์โหลด >>>>> https://www.reg.chula.ac.th/dlforms.html


2. นิสิตต้องการลงทะเบียนเพิ่มต้องทำยังไง ถ้าหากเลยกำหนดการลงทะเบียนไปแล้ว – นิสิตต้องเขียนใบคำร้อง จท.41 คำร้องทั่วไป เขียนรายวิชาที่ต้องการลงทะเบียนเรียน ตอนเรียน และจำนวนหน่วยกิต พร้อมทั้งเขียนเหตุผลประกอบด้านหลังถึงเหตุผลที่เขียนใบคำร้องสาย อีกทั้งต้องให้อาจารย์ผู้สอนลงนามรับรองให้ลงเรียนรายวิชานั้นได้ (การลงทะเบียนเรียนหลังกำหนดต้องเสียค่าปรับด้วย)

3. ช่วงสัปดาห์ลงทะเบียนเรียนสาย จะต้องเสียค่าปรับอย่างไร – ค่าปรับช่วงลงทะเบียนเรียนสายสัปดาห์แรกเป็นจำนวนเงิน 300 บาท สัปดาห์ที่สองเป็นจำนวนเงิน 600 บาท ชำระพร้อมกับค่าเล่าเรียน


4. ในการลงทะเบียยนเรียนในระบบ https://www.reg.chula.ac.th/
มีปัญหาเกี่ยวกับตอนเรียน ในระบบการลงทะเบียนเรียนของเว็บสำนักทะเบียน ในการแสดงความจำนงลงทะเบียนเรียน ระบุตอนเรียนไม่ถูกว่าต้องใส่ตรงไหน ไม่เข้าใจคำว่า เท่านั้น, ถึง, หรือ T, G
– ให้นิสิตใส่หมายเลขตอนเรียน (section) ในช่องแรกก่อนคำว่า เท่านั้น
– ส่วนคำว่าเท่านั้น คือให้ระบุตอนเรียนเดียว เช่น 1 เท่านั้น
– คำว่า ถึง คือ ระบุหลายตอนเรียนต่อเนื่องกัน เช่น 1 ถึง 3
– คำว่า หรือ คือ ระบุหลายตอนเรียนไม่ต่อเนื่องกัน เช่น 1 หรือ 3
– คำว่า T คือ ให้ใส่เฉพาะนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ (และต้องใส่จำนวน<หน่วยกิตรายวิชาวิทยานิพนธ์ที่ต้องการลงทะเบียนเรียนด้วย)
– คำว่า G คือ ให้ใส่เฉพาะนิสิตที่ลงรหัสกลุ่มวิชา (สำหรับรหัสกลุ่มวิชา ไม่ต้องใส่หมายเลขตอนเรียน)


5. ลงทะเบียนเรียนปกติ (แสดงความจำนงขอลงทะเบียนเรียน) ไม่ทัน จะต้องทำอย่างไร
– นิสิตสามารถแสดงความจำนงขอลงทะเบียนเรียนได้ในรอบถัดไป หรือลงทะเบียนเรียนสายในช่วงสัปดาห์ของการลงทะเบียนเรียนสาย ตามกำหนดการลงทะเบียนเรียนในเว็บไซต์


6. สัปดาห์การลงทะเบียนเรียนสาย เพิ่ม-ลดรายวิชา กระทำได้ถึงเมื่อไหร่
– การลงทะเบียนเรียนสาย สามารถเพิ่มรายวิชาได้ภายใน 2 สัปดาห์แรกของภาคการศึกษา
– การลดรายวิชา สามารถทำการลดรายวิชาได้ภายใน 6 สัปดาห์แรกของภาคการศึกษา


7. ควรตรวจสอบผลการลงทะเบียนเรียนเมื่อใด
– ตรวจสอบผลการลงทะเบียนเรียนผ่านเว็บไซต์ในหัวข้อ “ข้อมูลส่วนบุคคล” ทันทีทุกครั้งหลังจากที่ดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียนเรียนสาย การเพิ่มรายวิชา การลดรายวิชา หรือแม้แต่การเปลี่ยนตอนเรียน


8. ต้องการจะลงทะเบียนเรียนบางรายวิชาเป็นแบบ S/U , V/W จะต้องทำอย่างไร – ให้นิสิตมายื่นคำร้อง จท43 ขอลงทะเบียนเรียนเพื่อขอผลการศึกษาเป็น S/U หรือ V/W ที่ทะเบียนคณะที่นิสิตสังกัด


9. ขอถอนรายวิชาทุกรายวิชา ได้หรือไม่
– นิสิตจะขอถอนรายวิชาทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนไม่ได้ (ยกเว้นภาคฤดูร้อน นิสิตสามารถถอนรายวิชาได้ ทุกรายวิชา) ในกรณีที่นิสิตต้องการถอนรายวิชาทุกรายวิชา นิสิตจะต้องทำเรื่องขอลาพักการศึกษาเท่านั้น


10. จะทราบผลการถอนรายวิชาได้อย่างไร
– นิสิตสามารถตรวจสอบผลการถอนรายวิชาได้ที่เว็บไซต์ของสำนักทะเบียนฯ โดยการลอคอินเข้าสูระบบ เลือกหัวข้อ “สอบถามผลการลงทะเบียนเรียน” หลังจากสำนักทะเบียนฯ ได้รับคำร้องจากคณะแล้ว 5 วันทำการ


11. การลดรายวิชากับการถอนรายวิชา ต่างกันอย่างไร
– การลดรายวิชาจะกระทำได้ภายใน 6 สัปดาห์แรกชองภาคการศึกษา หรือภายใน 2 สัปดาห์แรกของภาคฤดูร้อน และรายวิชาที่ขอลดรายวิชานี้จะไม่บันทึกลงในใบประมวลผลการศึกษา (Transcript)
– การขอถอนรายวิชาจะกระทำได้หลังจาก 6 สัปดาห์แรกของภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน 12 สัปดาห์แรกของภาคการศึกษา (สัปดาห์ที่ 7-12) หรือหลังจาก 2 สัปดาห์แรกของภาคฤดูร้อน แต่ไม่เกิน 4 สัปดาห์แรกของภาคฤดูร้อน (สัปดาห์ที่ 3-4) และรายวิชาที่ขอถอนรายวิชานี้จะบันทึกและปรากฏสัญลักษณ์ W ในใบประมวลผลการศึกษา (Transcript)


12. กำหนดการเกี่ยวกับวันสุดท้ายของการเสนอโครงร่างและวิทยานิพนธ์ สามารถติดตามได้จากที่ไหน
https://www.cp.eng.chula.ac.th/current/graduate/thesis
https://www.grad.chula.ac.th/thesis.php?id=4


13. สามารถดูขั้นตอนการนัดสอบ/ดาวน์โหลดเอกสาร โครงร่างวิทยานิพนธ์ และสอบวิทยานิพนธ์ ได้ที่ไหน
https://www.cp.eng.chula.ac.th/current/graduate/thesis
– การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์และวิทยานิพนธ์สามารถสอบผ่านออนไลน์ได้ และการยื่นสอบเอกสารส่งเป็นไฟล์ pdf นิสิตสามารถส่งที่อีเมล grad@cp.eng.chula.ac.th ขั้นตอนการสอบยังคงเป็นเหมือนเดิม แค่เปลี่ยนวิธีการส่ง เอกสารเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิก (เอกสารที่กรรมการต้องอ่านก่อนการสอบ นิสิตสามารถส่งหากรรมการได้โดยตรง)

14. นิสิตจะขอสำเร็จการศึกษาได้ที่ไหน
– นิสิตสามารถขอสำเร็จการศึกษาได้จากเว็บสำนักทะเบียน https://www.reg.chula.ac.th/


15. นิสิตจะสำเร็จการศึกษาได้ก็ต่อเมื่อ
– นิสิตลงทะเบียนเรียนวิชาครบตามที่หลักสูตรกำหนด มีคะแนนภาษาอังกฤษที่ผ่านเกณฑ์แล้วตามมหาวิทยาลัยกำหนด มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการตามกฎของบัณฑิตวิทยาลัย


16. การยื่นคำร้องสามารถดาวน์โหลดคำร้องจาก https://www.reg.chula.ac.th/dlforms.html และนิสิตกรอกรายละเอียดในฟอร์ม พร้อมนิสิตลงนามและให้อาจารย์ที่ปรึกษาลงนาม หากยังไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษาให้อาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการลงนาม (เอกสารสามารถลงนามเป็นลายเซ็นต์อิเล็กทรอนิกได้) และส่งมาเป็นไฟล์ pdf ที่อีเมล grad@cp.eng.chula.ac.th ทางภาควิชาจะดำเนินการให้ประธานหลักสูตรลงนามให้ และดำเนินการต่อส่งไปให้

17. นิสิตสามารถสมัครทุนสนับสนุนนิสิตระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาบัณฑิตไปเสนอผลงานวิชาการในต่างประเทศและในประเทศ ของบัณฑิตวิทยาลัยหรือดูเงื่อนไขการรับทุนได้จากที่ใด
-ดูได้จากลิ้งนี้ https://www.grad.chula.ac.th/scholarship.php?type=2
ในข้อ 5 ขอทุนในต่างประเทศ และ ข้อ6ขอทุนในประเทศ ซึ่งนิสิตต้องแนบเอกสารและยื่นขอทุนตามกำหนดระยะเวลาที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นิสิตสามารถส่งเป็นไฟล์ pdf มาทางอีเมล grad@cp.eng.chula.ac.th
เอกสารที่ส่งมาสามารถเป็นลายเซ็นต์อิเล้กทรอนิกได้ โดยต้องให้อ.ที่ปรึกษาลงนามให้เรียบร้อยด้วย

18. หลังจากไปนำเสนอผลงานทางวิชาการแล้ว สามารถยื่นเบิกทุนได้อย่างไร
-นิสิตต้องเตรียมเอกสารและตามเวลาที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ไปยื่นกับทางบัณฑิตวิทยาลัยด้วยตัวเอง
ที่จามจุรี 10 ชั้น 1 one stop service

19. ข้อมูลตามประกาศจุฬาฯ เรื่อง อัตราการเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียน พ.ศ. 2562
-ดูได้จากลิ้งนี้ https://www.reg.chula.ac.th/Fee_Nisit2563.pdf