หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล
Bachelor of Engineering Program in Computer Engineering
and Digital Technology
ปีการศึกษา 2566

1.สภาพปัญหาและเหตุผลความจำเป็น
     ปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาก และมีผลกระทบต่อธุรกิจ อุตสาหกรรม และสังคม อย่างรุนแรงและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ธุรกิจต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วและนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ระบบเศรษฐกิจที่สามารถขับเคลื่อนไปได้ต้องมีบุคลากรทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสามารถทั้งด้านระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล เครือข่าย และด้านปัญญาประดิษฐ์ จึงจะสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้อย่างทันท่วงที ประกอบกับสถาบันการศึกษาในประเทศไทยสามารถผลิตบุคลากรด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพได้เพียงไม่กี่พันคนต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศที่อยู่ในระดับหลายหมื่นคนต่อปีได้
      การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ โดยคณาจารย์คุณภาพจากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์ที่สามารถขยายขนาดของห้องเรียนแบบดิจิทัลได้ และการฝึกประสบการณ์ภาคสนามให้กับนิสิตอย่างสม่ำเสมอจากภาคอุตสาหกรรม จะช่วยสร้างบัณฑิตจำนวนมากที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางวิชาการและในการปฏิบัติงานจริงให้กับอุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็ว และตอบสนองได้ทันต่อการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้

2 วัตถุประสงค์
     เพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพในสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลจำนวนมาก ที่สามารถปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมได้ และมีทักษะที่ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี

3. ผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน
     คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล มีดังนี้
  1.  มีความรู้กว้างและรู้ลึกในศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  2.  สามารถสืบค้น ตรวจสอบ และนำความรู้ทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ไปออกแบบและประยุกต์ใช้ทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้
  3.  สามารถเลือก ใช้ ประยุกต์ สร้างเครื่องมือ เทคนิค ทรัพยากรที่ทันสมัย ในการทำโครงการทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม
  4.  สามารถทำงานด้วยตนเองและสามารถทำงานในสถานะผู้นำของทีมและสมาชิกของทีม
  5.  สามารถอธิบายสื่อสารให้กับผู้อื่นเข้าใจได้ ทั้งในรูปแบบการเขียนเชิงวิชาการ และการนำเสนอด้วยวาจา
  6.  สามารถปรับตัวกับสภาวะที่เปลี่ยนไป เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเป็นผู้ใฝ่รู้ มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา โดยผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ ดังต่อไปนี้
              1)  วิศวกรคอมพิวเตอร์
              2)  นักพัฒนาซอฟต์แวร์
              3)  นักวิชาการคอมพิวเตอร์
              4)  นักวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
              5)  นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์
              6)  ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
              7)  ผู้ดูแลระบบสารสนเทศองค์กร
              8)  ผู้จัดการโครงการคอมพิวเตอร์
              9)  นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
             10) นวัตกร
             11) นักบริหารระบบและข้อมูล
             12) นักพัฒนาระบบปัญาประดิษฐ์

4. รายละเอียดหลักสูตร
        – จำนวนบัณฑิตที่จะผลิต
         300 คน
– วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
        เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประกาศของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
– โครงสร้างหลักสูตร
        จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 124 หน่วยกิต

ระยะเวลาการศึกษา 3 ปีครึ่ง
     โครงสร้างหลักสูตรจำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 124 หน่วยกิต

1)หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 12  หน่วยกิต
กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มพิเศษ3หน่วยกิต
กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ9หน่วยกิต
2)หมวดวิชาเฉพาะ 106  หน่วยกิต
กลุ่มรายวิชาบังคับ
กลุ่มวิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์3หน่วยกิต
กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม27หน่วยกิต
กลุ่มวิชาแกนระดับสาขาวิชา (บังคับ)55หน่วยกิต
กลุ่มรายวิชาเลือก
กลุ่มวิชาแกนระดับสาขาวิชา21หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี  6  หน่วยกิต
4.1.3 รายวิชา
**รายวิชาที่ให้เกรดเป็น S/U
4.1.3.1  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 12หน่วยกิต
กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มพิเศษ3 หน่วยกิต
2110222[1] บทนำสู่วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล**3(3-0-6)
Introduction to Computer Engineering and Digital Technology                 
กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ9  หน่วยกิต
5500203 ภาษาอังกฤษที่จำเป็นสำหรับวิศวกร3(3-0-6)
Essential English for Engineers
5500205ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอสำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล3(3-0-6)
Communication and Presentation Skills for Computer Engineering and Digital Technology
5500305การเขียนเชิงเทคนิคสำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล3(3-0-6)
Technical Writing for Computer Engineering and Digital Technology
 4.1.3.2  หมวดวิชาเฉพาะ 106  หน่วยกิต
กลุ่มรายวิชาบังคับ
วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 3 หน่วยกิต
2110205 สถิติสำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 3(3-0-6)
Statistics for Computer Engineering              
วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม 27  หน่วยกิต
2110102การฝึกงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1**3(0-18-0)
Computer Engineering Practice 1
2110212การฝึกงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 2**3(0-18-0)
Computer Engineering Practice 2
2110302การฝึกงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 3**3(0-18-0)
Computer Engineering Practice 3
2110402 สหกิจศึกษาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์9(0-36-0)
Computer Engineering Cooperative Education
2110104การทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์**3(0-18-0)
Computer Programming
2110201คณิตศาสตร์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์    3(3-0-6)
Computer Engineering Mathematics 
2110203คณิตศาสตร์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 23(3-0-6)
Computer Engineering Mathematics II
วิชาแกนระดับสาขาวิชา 55 หน่วยกิต
2110204โครงสร้างดิสครีต**3(3-0-6)
Discrete Structures
2110328โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี**4(4-0-8)
Data Structures and Algorithms
2110215 วิธีวิทยาการทำโปรแกรม 13(2-3-4)
Programming Methodology I
2110252ตรรกศาสตร์ของดิจิทัลคอมพิวเตอร์**3(3-0-6)
Digital Computer Logic
2110313 ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมระบบ3(3-0-6)
Operating Systems and System Programs
2110322 ระบบฐานข้อมูล3(3-0-6)
Database Systems
2110356 ระบบฝังตัว3(3-0-6)
Embedded System
2110403วิทยาศาสตร์ข้อมูลและวิศวกรรมข้อมูลเบื้องต้น3(3-0-6)
Introduction to Data Science and Data Engineering
2110405ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง3(3-0-6)
Artificial Intelligence and Machine Learning
2110423วิศวกรรมซอฟต์แวร์3(3-0-6)
Software Engineering
2110426การปฎิบัติการวิศวกรรมซอฟต์แวร์**1(0-2-1)
Software Engineering Lab…
2110503 การฝึกพัฒนาซอฟต์แวร์3(3-0-9)
Software Development Practice
2110507การฝึกพัฒนาซอฟต์แวร์ 23(3-0-9)
Software Development Practice 2
2110471ข่ายงานคอมพิวเตอร์ 13(2-2-5)
Computer Networks I
2110413 ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์3(3-0-6)
Computer Security
2110575ระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและวิธีการแก้ปัญหาทางดิจิทัล3(3-0-9)
IoT Systems and Digital Solutions
2110506 ระบบที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ 13(3-0-9)
Software-Defined Systems I
2110488 โครงงานรวบยอดวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 12(0-4-2)
Capstone Project I
2110489 โครงงานรวบยอดวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 23(0-6-3)
Capstone Project II
กลุ่มรายวิชาเลือก
วิชาแกนระดับสาขาวิชาโดยเลือกจากรายวิชาต่อไปนี้21 หน่วยกิต
2110404 ทฤษฏีการคำนวณ                                                                               3(3-0-6)
Computational Theory             
2110521สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์3(0-18-0)
Software Architecture
2110452สถาปัตยกรรมสมรรถนะสูง3(3-0-6)
High Performance Architecture
2110483*พื้นฐานของหลักการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่3(2-2-5)
Introduction to Data Science and Big Data
2110291เอกัตศึกษาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 11(0-3-0)
Individual Study in Computer Engineering I
2110292เอกัตศึกษาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 21(0-3-0)
Individual Study in Computer Engineering II
2110315ระบบเชิงขนานและระบบกระจาย3(3-0-6)
Parallel and Distributed Systems
2110391เอกัตศึกษาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 31(0-3-0)
Individual Study in Computer Engineering III
2110392เอกัตศึกษาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 41(0-3-0)
Individual Study in Computer Engineering IV
2110412*สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์เชิงขนาน3(3-0-6)
Parallel Computer Architecture
2110414ระบบการคำนวณขนาดใหญ่3(3-0-6)
Large Scale Computing Systems
2110424การปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์3(3-0-6)
Software Process Improvement
2110428ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำเหมืองข้อมูล 3(3-0-6)
Introduction to Data Mining
2110430การทำเหมืองอนุกรมเวลาและการค้นหาความรู้ 3(3-0-6)
Time Series Mining and Knowledge Discovery
2110431วิทยาการภาพดิจิทัลเบื้องต้น3(3-0-6)
Introduction to Digital Imaging
2110432การรู้จำเสียงพูดอัตโนมัติ3(3-0-6)
Automatic Speech Recognition
2110433คอมพิวเตอร์วิชัน3(3-0-6)
Computer Vision
2110435วิทยาการหุ่นยนต์เบื้องต้น3(3-0-6)
Introduction to Robotics
2110442การวิเคราะห์และโปรแกรมเชิงวัตถุ3(3-0-6)
Object-Oriented Analysis and Programming
2110443ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับคอมพิวเตอร์3(3-0-6)
Human-Computer Interaction
2110455การทดสอบวงจรดิจิตอล3(3-0-6)
Testing Digital Circuits
2110473การคำนวณแบบทนต่อความผิดพร่อง3(3-0-6)
Fault Tolerant Computing
2110475การออกแบบวงจรรวมขนาดใหญ่มาก3(3-0-6)
VLSI Design
2110476สติปัญญาประดิษฐ์ 13(3-0-6)
Artificial Intelligence I
2110477สติปัญญาประดิษฐ์ 23(3-0-6)
Artificial Intelligence II
2110478คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร3(3-0-6)
Computer and Communication
2110479คอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์3(3-0-6)
Computer Graphics
2110481เครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สาย3(3-0-6)
Wireless Computer Networks
2110495หัวข้อชั้นสูงในวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 13(3-0-6)
Advanced Topics in Computer Engineering I
2110496หัวข้อชั้นสูงในวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 23(3-0-6)
Advanced Topics in Computer Engineering II
2110497ปัญหาพิเศษทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 13(2-3-4)
Special Problems in Computer Engineering I
2110498ปัญหาพิเศษทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 2 3(2-3-4)
Special Problems in Computer Engineering II
2110446วิทยาศาสตร์ข้อมูลและวิศวกรรมข้อมูล3(3-0-6)
Data Science and Data Engineering
2110490โครงการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน1(0-2-1)
Computer Engineering Pre-Project
2110499โครงการทางวิศวกรรม3(0-6-3)
Computer Engineering Projects
2110511การเขียนโปรแกรมเกม3(3-0-9)
Game Programming  
2110512คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน 3(3-0-9)
Computer Animation
2110513เทคโนโลยีช่วยเหลือ3(3-0-9)
Assistive Technology
2110514 คอมพิวเตอร์กราฟิกส์และการจำลองทางฟิสิกส์แบบเรียลไทม์3(3-0-9)
Realtime Computer Graphics and Physics Simulation
2110522ยูนิกซ์/ลีนุกซ์สำหรับองค์กร 3(3-0-9)
UNIX/Linux for Enterprise Environment
2110524เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติง3(3-0-9)
Cloud Computing Technology
2110542ระบบคลังข้อมูล3-(3-0-9)
Data Warehouse System
2110561การผลิตเชิงคำนวณ3(3-0-9)
Computational Fabrication
2110562เทคโนโลยีตัวรับรู้  3(3-0-9)
Sensor Technology
2110571โครงข่ายประสาท3(3-0-9)
Neural Network
2110572ระบบการประมวลผลภาษาธรรมชาติ3(3-0-9)
Natural Language Processing System
2110573การรู้จำแบบ3(3-0-9)
Pattern Recognition
2110574ปัญญาประดิษฐ์สำหรับวิศวกร3(3-0-9)
Artificial Intelligence for Engineers
2110581ชีวสารสนเทศ 13(3-0-9)
Bioinformatics I
หมายเหตุ : นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติมจากรายวิชาของหลักสูตรที่เปิดสอน หรือรายวิชาที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นรายวิชาเลือกของหลักสูตรที่จะประกาศเพิ่มเติมโดยภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักสูตรหรือคณะกรรมการประจำภาควิชา
* วิชาเปิดใหม่
4.1.3.3 หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
นิสิตสามารถเลือกลงทะเบียนรายวิชาที่มีความสนใจและที่เปิดสอนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสิตที่มีความประสงค์จะเรียนรายวิชาอื่นในคณะวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากรายวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร สามารถนับหน่วยกิตการศึกษาและรับผลการประเมินเป็นเกรด A, B+, B, C+, C, D+, D และ F ได้ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือคณะกรรมการประจำภาควิชา และต้องมีจำนวนหน่วยกิตรายวิชาบังคับเลือกและรายวิชาเลือกของสาขาวิชาที่นิสิตสังกัดครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เพื่อขอสำเร็จการศึกษา กรณีที่นิสิตไม่ได้ขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบให้ลงทะเบียนเรียนเกินจากที่กำหนดไว้ในหลักสูตร จะได้รับการเปลี่ยนสัญลักษณ์ผลการประเมินให้เป็น S/U โดยมติของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือคณะกรรมการประจำภาควิชา

แผนการศึกษา
*วิชาที่ให้เกรดเป็น S/U
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชารายวิชาหน่วยกิต
2110104*การทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์3(3-0-6)
2110222*บทนำสู่วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล3(3-0-6)
2110328*โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี4(4-0-8)
2110204*โครงสร้างดิสครีต3(3-0-6)
2110252*ตรรกศาสตร์ของดิจิทัลคอมพิวเตอร์3(3-0-6)
รวม
16
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
2110215วิธีวิทยาการทำโปรแกรม 13(2-3-4)
2110322ระบบฐานข้อมูล3(3-0-6)
2110503การฝึกพัฒนาซอฟต์แวร์3(3-0-6)
2110507การฝึกพัฒนาซอฟต์แวร์ 23(3-0-6)
2110423วิศวกรรมซอฟต์แวร์3(3-0-6)
2110426*การปฏิบัติการวิศวกรรมซอฟต์แวร์3(0-2-1)
รวม
16
ปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน
2110102*การฝึกงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 13(0-18-0)
รวม
3
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
2110205สถิติสำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์3(3-0-6)
2110201คณิตศาสตร์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์3(3-0-6)
2110203คณิตศาสตร์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 23(3-0-6)
5500203ภาษาอังกฤษที่จำเป็นสำหรับวิศวกร3(3-0-6)
2110403วิทยาศาสตร์ข้อมูลและวิศวกรรมข้อมูลเบื้องต้น3(3-0-6)
2110356ระบบฝังตัว3(3-0-6)
รวม
18
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
2110313ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมระบบ3(3-0-6)
2110471ข่ายงานคอมพิวเตอร์ 13(3-0-6)
5500205ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอสำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล3(3-0-6)
2110xxxวิชาเลือก3(3-0-6)
2110xxxวิชาเลือก3(3-0-6)
2110405ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง3(3-0-6)
รวม
18
ปีที่ 2 ภาคฤดูร้อน
2110212*การฝึกงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 23(0-18-0)
รวม
3
ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1
2110488โครงงานรวบยอดวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 12(0-4-2)
5500305การเขียนเชิงเทคนิคสำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล3(3-0-6)
2110506ระบบที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ 13(3-0-9)
2110575ระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและวิธีการแก้ปัญหาทางดิจิทัล3(3-0-9)
2110413ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ 3(3-0-6)
2110xxxวิชาเลือก
2110xxxวิชาเลือก
รวม
20
ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2
2110489โครงงานรวบยอดวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 23(3-0-6)
2110xxxวิชาเลือก3
2110xxxวิชาเลือก3
2110xxxวิชาเลือก3
xxxxxxxวิชาเลือกเสรี3
xxxxxxxวิชาเลือกเสรี3
รวม
18
ปีที่ 3 ภาคฤดูร้อน
2110302*การฝึกงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 33(0-18-0)
รวม
3
ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1
2110402สหกิจศึกษาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์9(0-36-0)
รวม
9

หน่วยงานร่วมดำเนินการ และบทบาทความรับผิดชอบ องค์กรชั้นนำไม่ต่ำกว่า 30 องค์กร จากสภาและสมาคมต่าง ๆ เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย,สมาคมธนาคารไทย, สภาอุตสาหกรรม, สภาหอการค้าไทย, สมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ, ธนาคารแห่งประเทศไทย ฯลฯ และองค์กรเหล่านี้จะเข้ามาช่วยการดำเนินงานของหลักสูตรดังนี้
– ให้โจทย์โครงงานสำหรับรายวิชา
– ให้โจทย์โครงงานรวบยอด (Capstone Project) พร้อมที่ปรึกษาโครงงาน (ร่วม)
– ส่งตัวแทนเป็นกรรมการสอบโครงงานประจำภาคการศึกษา
– รับนิสิตทุกชั้นปีเข้าฝึกงานหรือสหกิจศึกษาและประเมินนิสิตตามเกณฑ์การประเมินที่หลักสูตรกำหนด
– จัดหาวิทยากรเพื่อร่วมสอนวิชาเลือกของนิสิตชั้นปีที่ 3
– ให้ข้อเสนอแนะระหว่างการดำเนินการหลักสูตร