ชื่อปริญญา: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์) / วท.ม. (วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์)
รหัสหลักสูตร: 2205
ระยะเวลาการศึกษา: 2 ปี
ปีที่ออกหลักสูตร: พ.ศ.2556 (หลักสูตรปรับปรุง)
ปีที่เริ่มใช้หลักสูตร: พ.ศ.2557

เนื้อหาการสอน

หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรการเรียนด้านคอมพิวเตอร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย (ตั้งแต่พ.ศ.2514) มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ไปพัฒนาประเทศ โดยเป็นหลักสูตรต่อยอดสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงหรือในสาขาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยตรง เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ด้าน ระบบอัจฉริยะ (Intelligent Systems) ด้านระบบสารสนเทศเพื่อวิสาหกิจ (Enterprise Information Systems) ด้านข้อมูลใหญ่ (Big Data) หรือด้านอื่น ๆ

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เปิดรับสมัครนิสิตเข้าเรียน ทั้งในภาคปกติ (เรียนวันจันทร์ – วันศุกร์) และภาคนอกเวลาราชการ (เรียนเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์) โดยรายวิชาที่เปิดสอนจะเกี่ยวข้องกับการทำวิจัย สัมมนา ทฤษฎีพื้นฐาน และวิชาเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ร่วมกับการทำวิทยานิพนธ์และตีพิมพ์ผลงานจากวิทยานิพนธ์ตามสาขาที่นิสิตต้องการเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ หลักสูตรเปิดให้นิสิตได้เลือกเรียนในสายวิชาใดสายวิชาหนึ่งจากสองสายวิชา ประกอบด้วย

  1. สายวิชา ระบบอัจฉริยะ (Intelligent Systems)
  2. สายวิชา ระบบสารสนเทศเพื่อวิสาหกิจ (Enterprise Information Systems)

อย่างไรก็ดี หากนิสิตสนใจในด้านอื่นนอกเหนือจากนี้ สามารถเลือกเรียนสายวิชาใดสายวิชาหนึ่งที่ใกล้เคียง แล้วเลือกรายวิชาที่สนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้  อนึ่ง การเรียนการสอน จะใช้ภาษาไทยเป็นหลัก แต่มีบางรายวิชาที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสอนด้วย

 

สำหรับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร มีดังนี้

  1. เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ และผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และเป็นผู้มีคุณธรรม
  2. เพื่อผลิตผลงานวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
  3. เพื่อผลิตผลงานพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาวิชาชีพหรือเป็นไปตามความต้องการของสังคม

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักวิจัย นักวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
  2. นักพัฒนาโปรแกรม
  3. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบซอฟต์แวร์
  4. นักออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์
  5. ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
  6. ผู้บริหารศูนย์ข้อมูล
  7. วิศวกรระบบ
  8. ผู้จัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  9. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

การเข้าศึกษา

หลักสูตรนี้ เปิดรับสมัครนิสิตเข้าศึกษา ทั้งภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลาย

 

สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษา ไม่ว่าจะเป็นภาคปกติ หรือภาคนอกเวลาราชการ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ สถิติ หรือ วิศวกรรมอื่น ๆ
  2. มีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้
  3. มีคะแนนภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่หลักสูตรระบุ ซึ่งปัจจุบัน ผู้สมัครต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
การสอบภาษาอังกฤษ คะแนนขั้นต่ำ
TOEFL 450 (PBT)
IELTS 4.0
CU-TEP 45

 

****(หมายเหตุคะแนนภาษาอังกฤษ ควรดูประกาศแนบท้ายสมัครอีกครั้ง โดยจะยึดกับเวบการรับสมัคร)

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมในการเข้าศึกษาต่อ และการสมัครเข้าเรียน สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย www.grad.chula.ac.th

อนึ่ง สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาทั้งสองแผนการเรียน ไม่ว่าจะเป็นภาคปกติ หรือภาคนอกเวลาราชการ จะต้องมีคุณสมบัติตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นปีๆไป  หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้

ค่าเล่าเรียน

เป็นไปตามประกาศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถตรวจสอบได้โดย คลิกที่นี่

อนึ่ง สำหรับนิสิต ที่เข้าศึกษาภาคนอกเวลาราชการ ต้องชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ภาควิชา (นอกเหนือจากค่าเล่าเรียน) ในอัตรา 25,000 บาท/ภาคการศึกษา ด้วย โดยชำระเงินที่ภาควิชา

 

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรนี้ มีจำนวนหน่วยกิตรวมทั้งหมด 36 หน่วยกิต มีโครงสร้างดังนี้

  1. วิชาบังคับ 9 หน่วยกิต (รวมวิชาสัมมนา 1 วิชาซึ่งบังคับไม่นับหน่วยกิต)
  2. วิชาบังคับเลือก หมวดเฉพาะทาง 9 หน่วยกิต โดยเลือกจากสายวิชาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
    1. สายวิชาระบบอัจฉริยะ (Intelligent Systems)
    2. สายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อวิสาหกิจ (Enterprise Information Systems)
  3. วิชาบังคับเลือก หมวดทั่วไป 6 หน่วยกิต
  4. วิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

 

รายละเอียดวิชาเรียนในหลักสูตร

วิชาบังคับ

  1. 2110607 วิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Research Methods in Computer Science) 3(3-0-9)
  2. 2110636 การวิเคราะห์และประเมินสมรรถนะ (Performance Analysis and Evaluation) 3(3-0-9)
  3. 2110681 คอมพิวเตอร์อัลกอริทึม (Computer Algorithm) 3(3-0-9)
  4. 2110701 สัมมนาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1 (Seminar in Computer Engineering I) 0(S/U) ประเมินผลเป็น S/U ไม่นับหน่วยกิต

 

วิชาบังคับเลือก หมวดเฉพาะทาง

นิสิตต้องเลือกเรียนสายวิชาใดสายวิชาหนึ่ง จากที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้

 

สายวิชาระบบอัจฉริยะ (Intelligent Systems)

นิสิตที่เลือกเรียนสายวิชานี้ ให้เลือก 3 วิชาจากวิชาดังนี้ (วิชาที่ไม่ได้เลือกในหมวดนี้ สามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมเป็นรายวิชาบังคับเลือก หมวดทั่วไปได้)

  • 2110654 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) 3(3-0-9)
  • 2110682 ระบบควบคุมฝังตัวแบบทันกาล (Embedded and Real-Time Systems) 3(3-0-9)
  • 2110714 ระบบเชิงเลข (Digital Systems) 3(3-0-9)
  • 2110743 การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) 3(3-0-9)
  • 2110773 การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) 3(3-0-9)

 

สายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อวิสาหกิจ (Enterprise Information Systems)

นิสิตที่เลือกเรียนสายวิชานี้ ให้เลือก 3 วิชาจากวิชาดังนี้ (วิชาที่ไม่ได้เลือกในหมวดนี้ สามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมเป็นรายวิชาบังคับเลือก หมวดทั่วไปได้)

    • 2110523 สถาปัตยกรรมโปรแกรมประยุกต์วิสาหกิจ (Enterprise Application Architecture) 3(3-0-9)
    • 2110637 ระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ (Large-Scale Information Systems) 3(3-0-9)
    • 2110640 ความมั่นคงของสารสนเทศ (Information Security) 3(3-0-9)
    • 2110663 โครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายทั่วโลก (Worldwide Network Infrastructure) 3(3-0-9)
    • 2110673 การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ (Information Storage and Retrieval) 3(3-0-9)

*** สำหรับนิสิตที่สนใจด้านข้อมูลใหญ่สามารถเลือกสายวิชาระบบอัจฉริยะเพื่อเน้นด้านการวิเคราะห์ข้อมูลใหญ่ (Big Data Analytics) หรือเลือก สายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อวิสาหกิจเพื่อเน้นด้านสถาปัตยกรรมข้อมูลใหญ่ (Big Data Architecture)

 

วิชาบังคับเลือก หมวดทั่วไป

เลือกเรียนได้ 2 วิชาจากรายวิชาดังต่อไปนี้

    • ** 2110746 การวิเคราะห์ข้อมูลใหญ่ (Big Data Analytics) 3(3-0-9)
    • ** 2110747 การวิเคราะห์เครือข่ายสังคม (Social Network Analysis) 3(3-0-9)
    • 2110522 ยูนิกซ์/ลีนุกซ์สำหรับองค์กร (UNIX/LINUX for Enterprise Environment) 3(3-0-9)
    • 2110638 เทคโนโลยีเชิงวัตถุ (Object-Oriented Technology) 3(3-0-9)
    • 2110651 การประมวลภาพลักษณ์ดิจิทัล (Digital Image Processing) 3(3-0-9)
    • 2110678 เครือข่ายคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ (Mobile Computing) 3(3-0-9)
    • 2110694 การศึกษาตามกำหนดทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Directed Studies in Computer Science) 3(3-0-9)
    • 2110697 หัวข้อพิเศษทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ 1 (Special Topics in Computer Science I) 3(3-0-9)
    • 2110698 หัวข้อพิเศษทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ 2 (Special Topics in Computer Science II) 3(3-0-9)
    • 2110713 วิธีการหาค่าเหมาะที่สุด (Optimization Methods) 3(3-0-9)
    • 2110731 ระบบกระจาย (Distributed Systems) 3(3-0-9)
    • 2110732 การคำนวณเชิงขนาน (Parallel Computing) 3(3-0-9)
    • 2110741 ศาสตร์หุ่นยนต์ (Robotics) 3(3-0-9)
    • 2110742 การคำนวณเชิงวิวัฒน์ (Evolutionary Computation) 3(3-0-9)
    • 2110781 หัวข้อพิเศษในระบบกระจาย (Special Topics in Distributed Systems) 3(3-0-9)
    • 2110792 เรื่องขั้นสูงทางปัญญาประดิษฐ์ (Advanced Topics in Artificial Intelligence) 3(3-0-9)
    • 2110795 เรื่องขั้นสูงทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Advanced Topics in Computer Network) 3(3-0-9)

** เริ่มในปีการศึกษา 2558
นอกจากรายวิชาทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ นิสิตยังสามารถเลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ โดยนับหน่วยกิตเป็นรายวิชาบังคับเลือกหมวดทั่วไปได้อีกด้วย ดังต่อไปนี้

  1. รายวิชาบังคับเลือก หมวดเฉพาะทางของสายวิชาที่นิสิตเลือก เฉพาะรายวิชานอกเหนือจากที่ได้นับเป็นรายวิชาบังคับเลือกหมวดเฉพาะทาง 9 หน่วยกิตไปแล้ว
  2. รายวิชาบังคับเลือก หมวดเฉพาะทางของสายวิชาที่นิสิต ไม่ ได้เลือก
  3. รายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรอื่นในระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชา กล่าวคือ รายวิชาที่มีรหัสวิชารหัส 21105xx, 21106xx และ 21107xx ที่ไม่ปรากฎชื่อในหลักสูตรนี้
  4. รายวิชาที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

หมายเหตุ: หากนิสิตสนใจในองค์ความรู้อื่น เช่น หากต้องการเรียนหรือทำวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ที่ไม่อยู่ในสายวิชาที่จัดไว้ ให้นิสิตเลือกเรียนสายวิชาใดสายวิชาหนึ่งที่ใกล้เคียง แล้วเลือกเรียนรายวิชาอื่น ๆ ของภาควิชาฯ ที่สอนองค์ความรู้นั้น โดยนับเป็นรายวิชาบังคับเลือกหมวดทั่วไป

วิชาวิทยานิพนธ์

  • 2110811 Thesis 12 หน่วยกิต

 

แผนการเรียนตามหลักสูตร

รหัสรายวิชา ชื่อวิชา จำนวนหน่วยกิต รหัสรายวิชา ชื่อวิชา จำนวนหน่วยกิต
ภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
2110607 RES METH CS 3 2110xxx Track Electives 6
วิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิชาบังคับเลือกหมวดเฉพาะทาง
2110636 PERFORM ANAL EVAL 3 2110xxx General Electives 3
การวิเคราะห์และประเมินสมรรถนะ วิชาบังคับเลือกหมวดทั่วไป
2110681 COMPUTER ALGORITHM 3
คอมพิวเตอร์อัลกอริทึม
รวม
9
รวม
9
ภาคการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 4
2110701 SEMINAR COMP ENG I 2110811 THESIS 9
สัมมนาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1 วิทยานิพนธ์
2110xxx Track Electives 3
วิชาบังคับเลือกหมวดเฉพาะทาง
2110xxx General Electives 3
วิชาบังคับเลือกหมวดทั่วไป
2110811 THESIS 3
วิทยานิพนธ์
รวม
9
รวม
9
รวมจำนวนหน่วยกิตทั้งหมดตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต