CEDT Innovation Summit 2025สุดล้ำ CEDT ปล่อยของให้โลกจำ ในงาน “CEDT Innovation Summit 2025” จุดประกายเวทีนวัตกรรมแห่งอนาคต เมื่อเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาบรรจบกันอย่างลงตัว! ห

May 14, 2025   กิจกรรมนิสิต, ปริญญาตรี Tag: , , , ,
CEDT Innovation Summit 2025
สุดล้ำ CEDT ปล่อยของให้โลกจำ ในงาน “CEDT Innovation Summit 2025” จุดประกายเวทีนวัตกรรมแห่งอนาคต เมื่อเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์มาบรรจบกันอย่างลงตัว! หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างปรากฏการณ์แห่งนวัตกรรมในงาน CEDT Innovation Summit 2025 (CIS2025) ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ณ ศาลาพระเกี้ยว จุดประกายพลังเยาวชนไทยให้เปล่งประกายบนเวทีระดับประเทศ

งานนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน CIS2025 โดยมี ผศ.ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต พร้อมด้วยคณาจารย์ แขกผู้มีเกียรติ ผู้แทนจากภาคอุตสาหกรรม ผู้ปกครอง และเยาวชนจากทั่วประเทศเข้าร่วมอย่างคับคั่ง

ภายในงานอัดแน่นด้วยกิจกรรมสุดสร้างสรรค์ ทั้งการโชว์เคสโปรเจกต์จากนิสิต CEDT บูธจากสถานประกอบการชั้นนำ และการแข่งขัน CIS2025 Hackathon Final Pitching จากนักเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ที่มาร่วมประชันไอเดียใน 3 สายการแข่งขัน ได้แก่ Financial, Medical และ Education Track เพื่อแสดงศักยภาพด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในหัวข้อที่พวกเขาหลงใหลนอกจากนี้ ภายในงานยังมีอีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญ คือช่วง Panel Discussion ภายใต้หัวข้อ “Public and Private Sector Perspectives: NextGen Innovation Investment” ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงจากทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ได้แก่ คุณกริชกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA), คุณไปยดา หาญชัยสุขสกุล ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund), คุณสรกฤช พฤทธานนทชัย ผู้บริหารระดับ Senior Vice President สายเทคโนโลยี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), คุณศุภชัย ปาจริยานนท์ CEO & Co-Founder, RISE และ Managing Partner, SeaX Ventures การเสวนาในครั้งนี้ถือเป็นเวทีสำคัญในการสะท้อนมุมมองและแนวทางการลงทุนด้านนวัตกรรมแห่งอนาคตจากทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนระบบนิเวศนวัตกรรมของประเทศ

ประกาศผลผู้ชนะ CIS2025 Hackathon
สาย Financial Track:
รางวัลชนะเลิศ ทีม เต่างอย ระบบวิเคราะห์และจัดการคาร์บอนเครดิตภาคเกษตรกรรมด้วยดาวเทียมและBlockchain
สมาชิกภายในทีมได้แก่ นายบุญยรัตน์ โตเดชะวัฒนา, นายสิทธินนท์ ลักษณะฉิมพลี และนางสาวพรนภัส บุรพงศ์บัณฑิต จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
รางวัลรองเลิศอันดับ 1 ทีม Fire Flyers นวัตกรรมการเฝ้าระวังไฟป่าในพื้นที่เสี่ยง
สมาชิกภายในทีมได้แก่นาย หลี่เจิ้น หยี่ลี, นายสธนธร สมสอน และนายณัฏฐ์พัฒน์ คงศิริวรกูล จากโรงเรียนวารีเชียงใหม่
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม CDลิงกังกู แพลตฟอร์มจัดการการเงินและบริหารโรงแรมด้วยAI
สมาชิกในทีมได้แก่ นายธีรัตม์ดลฉัตร ฉัตรชัย และนายสมิทธิ์ แสนมะโน จากโรงเรียนจิตรลดา
รางวัลชมเชย ทีม ของมันต้องมี Pordee: manage debt สมาชิกภายในทีมได้แก่ นางสาวธมลวรรณ คำเอม,นางสาวนรมน วนาธนสุวรรณ และนางสาวกษิรา ภูติจินดานันท์ จากดรุณสิกขาลัย โรงเรียนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้
รางวัลชมเชย ทีม Pao Tung การศึกษาและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันระบบการจัดการเงินและหนี้สินด้วยปัญญาประดิษฐ์ สมาชิกภายในทีมได้แก่ นางสาวนภัสร์ อิ่มเอิบปฐม, นายทัพพ์เทพ ปิณฑวิรุจน์ และ นายเศรษฐสิริ ธานีรณานนท์ จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
_____________________________________________________________________________________
สาย Medical Track :
รางวัลชนะเลิศ ทีม REBEXs ระบบตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นด้วยการสร้างภาพตัดขวาง แสดงความต้านทานไฟฟ้าภายในวัตถุและวิเคราะห์ด้วยอัลกอรีทึมโครงข่ายประสาทเทียม
สมาชิกภายในทีมได้แก่ นางสาวสิพิมพ์ สังขกร, นายสิริ รัศมีโชคลาภ และนายทิซากร โรจน์ศิรพิศาล จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
รางวัลรองเลิศอันดับ 1 ทีม แมวน้อย การพัฒนาแอปพลิเคชันอัจฉริยะสำหรับตรวจจับพฤติกรรมเสี่ยงของผู้สูงอายุโดยใช้ CSIWiFi และMachine Learning
สมาชิกภายในทีมได้แก่ นายเทพทวี ซูเกียรติวัฒนา ,นางสาวพิชญาภา ดนุไทย และนายคเซนทร์ อยู่สุวรรณ จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม WatJai แพลตฟอร์มสำหรับการคัดกรองโรคหัวใจจากกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย Deep Learning
สมาชิกภายในทีมได้แก่นายนนทกรภู่ หลักแก้ว, นายจิรายุ เจริญไทย และ นายทัตเทพ รัตนบุรี จากโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย
รางวัลชมเชย ทีม 3 หน่อขอจุฬาฯ ซอฟต์แวร์อัจฉริยะตรวจสอบคุณภาพด้วย Deep Learning สำหรับวิเคราะห์โครงสร้างขากรรไกร และกำหนดตำแหน่งรากฟันเทียมอย่างแม่นยำด้วยปัญญาประดิษฐ์เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาทางทันตกรรม
สมาชิกภายในทีมได้แก่ นายภาณุวัฒน์ วชิรพงศ์ , นายศุภการ สมดวิล และนายนนทวิชญ์ ปิติดา จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี
รางวัลชมเชย ทีม Skibidi no.1 การพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับการบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการโรคตาเข
สมาชิกภายในทีม นายกิรติ โพธิแดง และนางสาวภาวินี จันรวม จากวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
_____________________________________________________________________________________
สาย Education Track :
รางวัลชนะเลิศ ทีม CedtInMyHeart แอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วยAIที่ทำให้การสร้างแฟลชการ์ดจากสื่อการเรียนรู้ได้กลายเป็นระบบอัตโนมัติด้วยการใช้ประโยชน์จากNLPและML
สมาชิกภายในทีม นายธีรเมธ ทาร์ริกัน ,นายนภัสนัยน์ เมฆยิ้ม และนายวชิรวิชญ์ บุญสินธุ์ จากโรงเรียนระยองวิทยาคม
รางวัลรองเลิศอันดับ 1 ทีม PhoRobot เทคโนโลยีอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ง่ายขึ้น
สมาชิกภายในทีม นายตังกุล สวนพลอย, นายภาวัต ลือปั้นทอง และนายแอนดริว พูลละวาน จากโรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม 112CEDT(I want to CEDT) แอปพลิเคชันจดโน้ตที่มีฟังก์ชันต่างๆมาช่วยลดข้อจำกัดในการจดโน้ต
สมาชิกภายในทีม นายพลศรุต สมพร, นายวรเวทย์ นาคกล่อม และนายปุลวัชร ลิ่มศิลา จากโรงเรียนโยธินบูรณะ
รางวัลชมเชย ทีม มะๆๆๆแมซเมลโล แอปพลิเคชันAlที่จับคู่นักเรียนและครูตามไลฟ์สไตล์และสไตล์การสอน-การเรียนที่สอดคล้องกัน
สมาชิกภายในทีม นางสาวสุธาสิณี คำอินทร์ม, นายกฤติธี อิ่มทอง และนางสาวอิ่มเอม เรื่องกุล จากโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
รางวัลชมเชย ทีม Speak quest เกมที่ช่วยให้ผู้เล่นฝึกและเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านการเล่นเกมที่สนุกและท้าทาย
สมาชิกภายในทีม นายฐาปกรณ์ แซ่เตีย และนางสาวชลรดา คำวิชิต จากโรงเรียนวัดราชบพิธ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สุดท้ายนี้ได้มีการฟังการบรรยายจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยคุณสรกฤช พฤทธานนทชัย ผู้บริหารระดับ Senior Vice President สายเทคโนโลยี ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ฟังการบรรยายจาก Nipa Technology โดย ดร. อภิศักดิ์ จุลยา CEO & Founder ประธานกรรมการบริหาร และ ผู้ก่อตั้ง บริษัท นิภา คลาวด์ และ ฟังการบรรยายจาก Huawei (Thailand) โดยคุณสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย การบรรยายในช่วงนี้ช่วยเปิดมุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับแนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคต และบทบาทขององค์กรชั้นนำในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในประเทศไทย

งานนี้ไม่เพียงแต่สะท้อนถึงศักยภาพของเยาวชนไทยในโลกเทคโนโลยี แต่ยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้ “ปล่อยของ” อย่างเต็มที่ พร้อมก้าวสู่อนาคตด้วยความมั่นใจและแรงบันดาลใจที่ไม่มีที่สิ้นสุด