ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีประวัติความเป็นมาสืบเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ.2512 โดยเริ่มดำเนินการในฐานะ หน่วยคอมพิวเตอร์ไซแอนส์ สังกัดบัณฑิตวิทยาลัย เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรคอมพิวเตอร์ไซแอนส์ ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทยที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยตรง ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศาสตร์ อันเป็นหลักสูตรด้านคอมพิวเตอร์ระดับปริญญาหลักสูตรแรกในประเทศไทยเช่นกัน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2518 มหาวิทยาลัยได้ยกฐานะหน่วยคอมพิวเตอร์ไซแอนส์ขึ้นเป็นภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ถือเป็นภาควิชาที่ 9 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมทั้งดำเนินการสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นอีกหลักสูตรหนึ่ง แต่ได้ปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรคอมพิวเตอร์ไซแอนส์ตามคำสั่งของมหาวิทยาลัย โดยที่นิสิตในหลักสูตรประกาศนียบัตรคอมพิวเตอร์ไซแอนส์เดิมยังคงศึกษาต่อไปจนถึงสิ้นปีการศีกษา พ.ศ. 2521 ต่อมาในปีพ.ศ. 2525 ได้ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตใหม่ และเปลี่ยนชื่อสาขาเป็นวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ การดำเนินงานของภาควิชาได้รุดหน้ามาโดยลำดับ และได้เปิดหลักสูตรเพิ่มขึ้นอีก 3 หลักสูตร กล่าวคือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในปีพ.ศ.2535 หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในปีพ.ศ.2541 และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ในปีพ.ศ.2545
เนื่องด้วยมีผู้สำเร็จการศีกษาจากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้ไปประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์ เป็นกำลังหลักในการพัฒนาอยู่ทั่วประเทศทั้งในส่วนราชการและเอกชน ดังนั้น เพื่อให้มีศูนย์รวมของศิษย์เก่าและผู้มีความผูกพันต่อภาควิชาฯ ในปีพ.ศ.2525 จึงมีการจัดตั้ง ชมรมศิษย์เก่าคอมพิวเตอร์จุฬา ขึ้นโดยถือเอาวันครบรอบปีที่ 7 ของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และโอกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปีอีกด้วย คือวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2525 เป็นวันก่อตั้งชมรม มี รศ.ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา เป็นประธานชมรมคนแรก
ชมรมได้ดำเนินการเรื่อยมาเป็นลำดับ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2552 ชมรมศิษย์เก่าคอมพิวเตอร์จุฬา จึงได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็น สมาคมศิษย์เก่าคอมพิวเตอร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Computer Alumni) มี อ.ดร.ยรรยง เต็งอำนวย เป็นนายกสมาคมคนแรก
วัตถุประสงค์สมาคม
- เปนศูนยกลางในการสื่อสาร สงเสริมความสัมพันธอันดีและใหความชวยเหลือเกื้อกูลกันในหมูสมาชิก
- เปนศูนยกลางในการสื่อสาร และสงเสริมความสัมพันธอันดี ระหวางสมาชิกกับภาควิชา
- สนับสนุนและสงเสริมการศึกษา และการวิจัยของภาควิชา และของสมาชิก
- สนับสนุน สงเสริม ยกยองและใหกําลังใจแกสมาชิกที่ประกอบคุณงามความดีและทําชื่อเสียงดีเดนในวิชาชีพคอมพิวเตอร
- ไมดําเนินกิจกรรมทางการเมือง
คณะกรรมการสมาคม
รายชื่อกรรมการสมาคมศิษย์เก่าคอมพิวเตอร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวาระ พ.ศ. 2560 – 2562
No. | ชื่อ-นามสกุล | ตำแหน่ง/หน้าที่ | |
1 | นายธีรชัย | ศุภพันธุ์ภิญโญ | นายกสมาคม |
2 | นายเดชาธร | เกิดภาพิพัฒน์ | อุปนายก |
3 | นายภัทราวุธ | ซื่อสัตยาศิลป์ | อุปนายก |
4 | ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ | หนูไพโรจน์ | กรรมการ |
5 | ศ.ดร.ประภาส | จงสถิตย์วัฒนา | กรรมการ |
6 | ดร.สุรพันธ์ | เมฆนาวิน | กรรมการ |
7 | นายสุทธิพงศ์ | กนกากร | กรรมการ |
8 | ผศ.ดร.นัทที | นิภานันท์ | กรรมการ |
9 | นายสรวิศ | ไพบูลย์รัตนากร | กรรมการ |
10 | นางสาวสมปรารถนา | รัทยานนท์ | กรรมการ |
11 | นายกฤษณะ | พิพัฒน์อุปถัมภ์ | กรรมการ |
12 | นางวิไลลักษณ์ | หาญไชยพิบูลย์กุล | กรรมการและปฏิคม |
13 | รศ.ดร.วิวัฒน์ | วัฒนาวุฒิ | กรรมการและนายทะเบียน |
14 | นายทศพล | อภิกุลวณิช | กรรมการและประชาสัมพันธ์ |
15 | นายอร่าม | ตันติโสภณวนิช | กรรมการและเหรัญญิก |
16 | นายวรวิชญวิทย์ | ประเสริฐยิ่ง | กรรมการและเลขานุการ |