นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คว้ารางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขัน PIM International Hackathon
นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คว้ารางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขัน PIM International Hackathon
ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2024 ณ PIM Chaeng Wattana campus โดยหน่วยงาน Panyapiwat Institute of Management (PIM) โดยการแข่งขันนี้
นิสิตCP ชั้นปีที่4 ได้คว้ารางวัลชนะเลิศ และ
นิสิตCEDT ชั่นปีที่2 ได้คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ขอแสดงความยินดีกับนิสิต
นายนนทพันธุ์ สิทธิโชติเลิศภักดี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ
นางสาวหทัยธนิต ธงทอง จาก
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สามารถคว้า
รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 มาครอบครองได้ พร้อมเงินรางวัล 60,000 บาท
การแข่งขันนี้นิสิตได้ใช้โปรเจกต์ที่มีชื่อว่า LOCOL คือโครงการนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนในภาคการเกษตร โดยเราได้ร่วมมือกับทีมอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการพัฒนานวัตกรรมจากเศษเหลือจากโกโก้ เพื่อใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับปศุสัตว์ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากกระบวนการย่อยอาหารของวัว กระบวนการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเพิ่มคุณภาพเนื้อและช่วยลดต้นทุนสำหรับเกษตรกรในเวลาเดียวกัน
ผลลัพธ์ที่ได้จาก
โครงการ LOCOL : ลดต้นทุนการผลิตด้วยอาหารเสริมที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ เพิ่มคุณภาพเนื้อวัว ทำให้ขายได้ราคาสูงขึ้น เข้าถึงเทคโนโลยีง่ายขึ้นผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล และได้รับประโยชน์จากการสร้างเครดิตคาร์บอน สำหรับโลกและสิ่งแวดล้อม : ลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากปศุสัตว์ ช่วยลดภาวะโลกร้อน สนับสนุนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับผู้บริโภคและอุตสาหกรรม เนื้อวัวมีคุณภาพสูงและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ รวมไปถึงสร้างความมั่นใจในมาตรฐานความปลอดภัย และความยั่งยืน
เป้าหมาย คือการสร้างระบบการเกษตรที่ตอบโจทย์ทั้งเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ด้วยสโลแกน
“Low Carbon Beef, Lifted Farmer Life” LOCOL มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน และช่วยสร้างอนาคตที่ดีขึ้นสำหรับชุมชนและโลกใบนี้
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ขอแสดงความยินดีกับนิสิต
นายอภิภูมิ ชื่นชมภู, นางสาวภิญฐ์สิตา เนียมอินทร์ และ
นายธนกฤษ สายพันธ์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สามารถคว้า
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มาครอบครองได้ พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท
การแข่งขันนี้นิสิตได้ใช้โปรเจกต์ที่มีชื่อว่า Alpaca – แอปพลิเคชันส่งเสริมการทำอรรถบำบัดทางไกลด้วยปัญญาประดิษฐ์ โดยใช้แอปพลิเคชัน “อัลปาก้า” ข้อดีของแอปพลิเคชันนี้คือช่วยส่งเสริมการทำอรรถบำบัดทางไกลโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฝึกพูดและสื่อสารที่บ้านได้ และช่วยแพทย์และนักอรรถบำบัดติดตามผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง
ฟีเจอร์สำคัญของแอปพลิเคชันนี้ประกอบด้วย: ระบบการฝึกออกเสียง ระบบการฝึกฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง รวมไปถึงระบบสำหรับแพทย์/นักอรรถบำบัด
ประโยชน์ในการใช้งาน:ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟู แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ อีกทั้งช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดอย่างต่อเนื่องและถูกวิธี
ขอแสดงความยินดีกับนิสิตทุกท่านอีกครั้งที่ทำให้ภาควิชาฯ ภูมิใจ และหวังว่าจะได้เห็นความสำเร็จในอนาคตต่อไป